Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64923
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิศานาถ ไตรผล-
dc.contributor.authorสุรเชษฐ์ ตุ้มมี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-05T07:57:52Z-
dc.date.available2020-04-05T07:57:52Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64923-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับวิธีการในการเตรียมสารแขวนลอยของอนุภาคอินทรีย์และอนินทรีย์ระดับนาโนเมตรที่กระจายในตัวกลางสารอินทรีย์ โดยศึกษาการใช้สารช่วยกระจายตัวประเภทต่างๆ ที่มีโครงสร้างโมเลกุลและปริมาณความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ต่อประสิทธิภาพในการทำหน้าที่เป็นสารช่วยกระจายตัว โดยการศึกษาสารแขวนลอยในระบบที่ใช้อนุภาคอินทรีย์ได้เลือกใช้อนุภาควัสดุเชิงประกอบพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์ออกไซด์ ในตัวกลางตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า สารแขวนลอยมีความเสถียรทางสีสูงและตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีต่ออุณหภูมิอย่างเป็นระบบทำให้สามารถนำมาผสมร่วมกับพอลิเมอร์เมทริกซ์ชนิดต่างๆ และขึ้นรูปเป็นฟิล์มบางได้ โดยฟิล์มที่เตรียมได้มีการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีต่อความร้อน จากนั้นศึกษาผลของการใช้สารช่วยกระจายตัวที่มีโครงสร้างแตกต่างกัน ได้แก่ พอลิเอทิลีน-บี-พอลิ(เอทิลีนออกไซด์) เซทิลไตรเมทิลแอมโมเนียมโบรไมด์ โอเลอิกแอซิด และโซเดียมโดเดซิลซัลเฟต ในสารแขวนลอยวัสดุเชิงประกอบในโทลูอีน พบว่าสารช่วยกระจายตัวไม่ส่งผลต่อสมบัติเชิงแสงเริ่มต้น แต่จะช่วยเพิ่มการกระจายตัวและแขวนลอยของอนุภาคในสารแขวนลอย โดยโครงสร้างและความเข้มข้นของสารช่วยกระจายตัวที่ใช้มีผลต่อความเสถียรของสารแขวนลอย นอกจากนั้นยังพบว่าสารช่วยกระจายตัวช่วยทำให้สามารถขึ้นรูปฟิล์มได้เรียบและเป็นเนื้อเดียวกัน โดยฟิล์มที่เตรียมได้มีสมบัติการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีต่อความร้อนและภาวะกรด-เบส สำหรับการศึกษาสารแขวนลอยในระบบของอนุภาคอนินทรีย์ได้เลือกใช้อนุภาคระดับนาโนเมตรของไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีค่าพื้นที่ผิว 40 และ 200 ตารางเมตรต่อกรัม ในตัวกลางซิลิโคน และใช้พอลิ(ไดเมทิลไซลอกเซน-บี-ไฮดรอกซี เอทิล อะคริเลต) หรือ พีดีเอ็มเอส-พีเอชอีเอ เป็นสารช่วยกระจายตัว ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างและความเข้มข้นของสารช่วยกระจายตัวมีผลต่อความเสถียรของสารแขวนลอย ในสารแขวนลอยไทเทเนียมไดออกไซด์ 40 ตารางเมตรต่อกรัม พบว่า ในกรณีที่สารช่วยกระจายตัวมีสายโซ่พีดีเอ็มเอสและพีเอชอีเอสั้น ความเสถียรในการกระจายตัวของสารแขวนลอยจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารช่วยกระจายตัว ส่วนในกรณีของสารช่วยกระจายตัวที่มีสายโซ่พีดีเอ็มเอสและพีเอชอีเอยาว ความเสถียรในการกระจายตัวของสารแขวนลอยจะลดลงเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารช่วยกระจายตัว ในระบบสารแขวนลอยไทเทเนียมไดออกไซด์ 200 ตารางเมตรต่อกรัม พบว่าการเพิ่มความเข้มข้นของสารช่วยกระจายตัวทั้งหมดจะช่วยเพิ่มความเสถียรในการกระจายตัวของสาร-
dc.description.abstractalternativeThis research focuses on methods for preparation of organic and inorganic nanoparticles suspended in organic media. Dispersants with various molecular structures and concentrations are studied to determine their efficiency. In the system of organic nanoparticles, poly(PCDA)/ZnO nanocomposites in organic solvents are investigated. The poly(PCDA)/ZnO suspensions exhibit high color stability and systematic thermochromic responses. This allows the mixing of the nanocomposites with polymer matrices, and then, fabricating into films with thermochromic behavior. Next, effects of dispersants with various structures including polyethylene-b-poly(ethyleneoxide), cetyl trimethylammonium bromide, oleic acid  and sodium dodecyl sulfate are studied. It is found that initial optical properties of the nanocomposites are not affected by the dispersants. However, the dispersants promote dispersion of particles in the suspensions. The suspension stability depends on structure and concentration of the dispersants. In addition, the dispersants provide smooth and homogeneous nanocomposite films, which systematically response to heat and acid-base conditions. For the system of inorganic nanoparticles, we examined TiO2 nanoparticles with different surface areas of 40 and 200 m2/g in silicone fluid, using poly(dimethylsiloxane-b-hydroxy ethyl acrylate) or PDMS-PHEA as a dispersant. The results show that, suspension stability depends on structure and concentration of the dispersant. In 40 m2/g-TiO2 suspensions, increasing concentration of the dispersant with short PDMS and PHEA segments promotes the suspension stability. Contrary, increasing concentration of the dispersant with long PDMS and PHEA segments decreases the suspension stability. In 200 m2/g-TiO2 system, the suspension stability is enhanced by increasing concentration of all dispersants. -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMaterials Science-
dc.titleบทบาทของสารช่วยกระจายตัวต่อการกระจายและเสถียรภาพของอนุภาคอินทรีย์และอนินทรีย์ระดับนาโนในตัวกลางอินทรีย์-
dc.title.alternativeRoles of dispersants on dispersion and stability of organic and inorganic nanoparticles in organic media-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineวัสดุศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorNisanart.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5173918723.pdf12.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.