Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65849
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาส-
dc.contributor.authorสวนิต สตงคุณห์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-18T05:36:31Z-
dc.date.available2020-05-18T05:36:31Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741706375-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65849-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstract"อาวุธปืน’ นอกจากจะใช้เพื่อการกีฬาแล้วมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือประกอบอาชญากรรมอีกด้วยทำให้ภาครัฐต้องพิจารณาควบคุมอาวุธปืนของประชาชน ซึ่งการควบคุมดังกล่าวทำให้เกิดทัศนคติ 2 แนวทาง 1. การควบคุมอย่างเข้มงวด โดยมีแนวคิดว่าหากประชาชนไม่มีอาวุธปืนแล้วอาชญากรรมย่อมหมดสิ้นไป ดังนั้นจึงควร ห้ามประชาชนมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง 2. การควบคุมอย่างเสรี แนวทางนี้เห็นว่าการที่จะห้ามประชาชนมีอาวุธปืนเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนมีเพื่อปกป้องตนเองและทรัพย์สิน ยามที่รัฐไม่สามารถให้ความคุ้มครองประชาชนได้ ดังนั้นจึงสมควรให้ประชาชนมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง ดังนั้น การควบคุมอาวุธปืนของประเทศไทย จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาแนวทางเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่าง 2 ทัศนะ เพราะในปัจจุบันกฎหมายอาวุธปืนของไทยมี พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 ใช้บังคับอยู่เพียงฉบับเดียว และเป็นเวลานานกว่า 50 ปี จึงทำให้เกิดช่องว่างในการบังคับใช้กฎหมายหลายประการไม่ว่าจะเป็นความไม่ชัดเจน คลุมเครือ และล้าสมัย ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายอาวุธปืนของต่างประเทศทั้งประเทศที่มีความเข้มงวดประเทศที่มีความยืดหยุ่นและประเทศที่มีความเสรี ในการควบคุมอาวุธปืนเพื่อหาแนวทางปรับปรุงกฎหมายอาวุธปืนของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย จากการศึกษาพบว่า ทุกประเทศต่างก็อนุญาตให้ประชาชนมี ใช้ และพกพาอาวุธปืนได้ เพราะถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่จะป้องกันตนเองและทรัพย์สิน แต่จะแตกต่างกันในเรื่องของมาตรการควบคุมหลักเกณฑ์การขออนุญาตมี ใช้ และพกพาอาวุธปืน การกำหนดเงื่อนไข วิธีการตรวจสอบ ความเข้มงวดในการพิจารณาอนุญาต ตลอดจนความรุนแรงของบทลงโทษที่มักจะคำนึงถึงความปลอดภัยของสาธารณชนในสังคมเป็น หลักมากที่สุด วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอว่า กฎหมายอาวุธปืนของประเทศไทย ควรมีลักษณะแบบกึ่งผสมผสานกับกฎหมายของหลายประเทศ โดยนำหลักเกณฑ์การควบคุมที่เป็นจุดเด่นของประเทศเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้และกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการควบคุมการมีและใช้อาวุธปืนตามสภาพสังคมของประเทศไทยต่อไป-
dc.description.abstractalternative“Firearms" apart from being used in sports are also used in criminal commission. The government therefore has to control sale of firearms to the general public such a control brings about two lines of thought. 1. A Strict control viewing that once the people are out of firearms crimes would be soon extinct. Possession of firearms by the public should therefore be strictly forbidden. 2. A loose control viewing that to forbid the public from possessing firearms is to limit the right and liberty of the people to carry out self-defense, and properties , especially by the time the state is still unable to protect the public. There fore the public should be allowed to possess firearms. The control Firearms in Thailand therefore requires a full reflection of the two branch of thoughts to allow a well balanced outcome. At present Thailand has only one single legislation i.e. the Firearms Act of B.E. 2490 and it is already over half a century old. There are loopholes in law enforcement be it imprecision., out of mode 1 or lack of consideration on the present social condition. This thesis carries out a comparative study between Thai laws and those of foreign countries , both the stricter type and the more liberal type in order to look for a guideline to carry out a reform on laws on firearms in Thailand to ensure an efficient law enforcement. Results getting form study show that the countries under the study always allow the public to possess , use and carry firearms as a basic right in self defense for person or property. But the control vary regarding the application for possession , use and carrying , the condition of which and the monitoring , there is also variation in issuance of permit regarding the strictness and the penalties for offence in order to look after the safety of the public. The study proposes that law on firearms of Thailand should blend in the stronger points of various countries by trying to apply the control principles of those countries and try to spell out the conditions on possession and use of firearms by taking the social condition of the country into consideration .-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปืน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectปืน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยen_US
dc.titleปัญหาและแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน : ศึกษาในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบen_US
dc.title.alternativeProblems for the unprovement of firearms act : a comparative studyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorViraphong.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Savanit_st_front_p.pdf808.78 kBAdobe PDFView/Open
Savanit_st_ch1_p.pdf745.92 kBAdobe PDFView/Open
Savanit_st_ch2_p.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Savanit_st_ch3_p.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Savanit_st_ch4_p.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Savanit_st_ch5_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Savanit_st_back_p.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.