Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66014
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางเพศ การกล้าแสดงออกและปฏิกิริยาทางอารมณ์ ต่อภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเครียด |
Other Titles: | Relationships among sex role, assertiveness, and emotional reaction to potential stress |
Authors: | นันทกา จุลยนันท์ |
Advisors: | จรุงกุล บูรพวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | jarungkul.b@chula.ac.th |
Subjects: | บทบาทตามเพศ การแสดงออก (จิตวิทยา) อารมณ์ ความเครียด (จิตวิทยา) Sex role Emotions Assertiveness (Psychology) Stress (Psychology) |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาททางเพศ การกล้าแสดงออก และปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเครียด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 215 คน ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างตอบมาตรวัดบทบาททางเพศ มาตรวัดการกล้าแสดงออกและมาตรวัดความรู้สึกทางบวกและทางลบ ผลการวิจัย พบว่า 1. บุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบลักษณะความเป็นชาย และบุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบลักษณะความเป็นหญิง มีการกล้าแสดงออกสูงกว่าบุคคลมีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. บุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบแอนโดรจีนี มีการกล้าแสดงออกสูงกว่าบุคคลมีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. บุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบลักษณะความเป็นชาย มีปฏิกิริยาทางอารมณ์ทางด้านบวกต่อภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเครียดมากกว่าบุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. บุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบแอนโดรจีนี มีปฏิกิริยาทางอารมณ์ทางด้านบวกต่อภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเครียดมากกว่าบุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5. การกล้าแสดงออกของบุคคลมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กับปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเครียด |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study sex role, assertiveness and emotional reaction to potential stress. Three instruments: A sex role inventory, an assertiveness measure and an emotional reaction measure were administered to 215 Chulalongkorn University students. The results are as follows: 1. Participants classified as masculine and feminine are significantly more assertive (p < .05) than those who are undifferentiated. 2. Participants classified as androgyny are significantly more assertive (p < .001) than those who are undifferentiated. 3. Participants classified as masculine have significantly more positive emotional reaction to potential stress (p < .01) than those who are undifferentiated. 4. Participants classified as androgyny have significantly more positive emotional reaction to potential stress (p < .001) than those who are undifferentiated. 5. There is a significant positive correlation (p < .01) between assertiveness and emotional reactional to potential stress. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาสังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66014 |
ISBN: | 9741735111 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuntaka_ju_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 748.37 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntaka_ju_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntaka_ju_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntaka_ju_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 741.76 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntaka_ju_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 716.9 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntaka_ju_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 670.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntaka_ju_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.