Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66095
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตตภัทร เครือวรรณ์-
dc.contributor.advisorสรวิศ นฤปิติ-
dc.contributor.authorสมภพ ด้วงทอง-
dc.date.accessioned2020-05-31T06:39:12Z-
dc.date.available2020-05-31T06:39:12Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741706197-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66095-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางและทัศนคติในการเลือกเส้นทางของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เดินทางจากกรุงเทพฯไปยังจังหวัดชลบุรีรวมทั้งเพื่อสร้างแบบจำลองที่ใช้ทำนายพฤติกรรมการตัดสินใจ เลือกเส้นทาง โดยพิจารณาเฉพาะเส้นทางหลัก ได้แก่ ถ.บางนา-ตราด ทางด่วนยกระดับบางนา-ชลบุรี และมอเตอร์เวย์ กลุ่มตัวอย่างของผู้ขับขี่ที่รวบรวมได้ในการศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย กลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนตัวจำนวน 167 คน และกลุ่มผู้ขับขี่รถขนส่งสินค้าจำนวน 86 คน การวิเคราะห์ได้แบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและหลักเกณฑ์การตัดสินใจเลือกเส้นทางของผู้ขับขี่ และการพัฒนาแบบจำลองประเภทลอจิต (Logit) เพื่อทำนายความน่าจะเป็นที่ผู้ขับขี่จะเลือกใช้เส้นทางแต่ละเส้นทาง ข้อมูลที่ใช้นั้นได้จากการสัมภาษณ์ผู้ขับขี่ที่เดินทางอยู่แล้วในปัจจุบันและสำรวจ ณ บริเวณเส้นทางที่พิจารณา นอกจากนั้น การศึกษานี้เลือกใช้วิธีการสำรวจ Stated Preference (SP) โดยให้ผู้ขับขี่แสดงการตัดสินใจเลือกเส้นทางจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สมมติขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนตัวประมาณร้อยละ 80 ระบุว่าจะเปลี่ยนเส้นทางจากที่เคยใช้ประจำ หากพบกับสภาพการจราจรติดขัดหรือมีการเปลี่ยนอัตราค่าผ่านทาง รวมถึงยังทำให้ทราบว่าหลักเกณฑ์การเลือกเส้นทางของผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนตัวที่สำคัญที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เวลาการเดินทาง สภาพการจราจร สภาพผิวถนน ความปลอดภัย และความคุ้นเคยกับเส้นทาง ตามลำดับ ในขณะที่ผู้ขับขี่รถขนส่งสินค้ามีหลักเกณฑ์การตัดสินใจของผู้ขับขี่รถขนส่งสินค้านั้นมีความซับซ้อนกว่า และขึ้นอยู่กับประเภทรถที่ใช้ ผู้ขับขี่จำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ขับขี่รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป มีข้อจำกัดในการเลือกเส้นทางคือ มีจุดแวะระหว่างเส้นทางติดเวลาใช้เส้นทางของรถบรรทุก ต้องวิ่งในเส้นทางที่นายจ้างกำหนด และนํ้าหนักบรรทุก การสร้างแบบจำลองใช้รูปแบบ Multinomial Logit (MNL) โดยข้อมูลจากการเลือกเส้นทางจากสถานการณ์ที่สมมติขึ้นด้วยวิธี SP และวิเคราะห์เฉพาะกลุ่มตัวอย่างผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนตัว ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองสามารถทำนายการเลือกเส้นทางได้ดีขึ้น เมื่อแยกวิเคราะห์กลุ่มผู้ขับขี่ตามวัตถุประสงค์ของการเดินทางและปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการเลือกเส้นทางมากที่สุดคือปัจจัยที่แสดงคุณสมบัติของเส้นทาง ซึ่งได้แก่ ระยะทางจากจุดเริ่มเดินทาง เวลาการเดินทาง สภาพการจราจร และค่าผ่านทาง นอกจากนั้น พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกเส้นทางของผู้ขับขี่ยังมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของผู้ขับขี่อีกด้วย ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญๆ ได้แก่ เพศ อายุ และรายได้ของผู้ขับขี่ และจุดหมายปลายทาง-
dc.description.abstractalternativeThis thesis investigates travel behaviors of the drivers who travel from Bangkok to Chonburi, develops mathematical models for predicting the route choice, and determines the attitudes that influence route choice decision. Author focus on three main routes: Bangna-Trad Highway, Bangna-Chonburi Elevated Expressway and New Bangkok-Chonburi Motorway. The data for the study is collected from 167 passenger car drivers and 86 goods vehicle drivers. The analysis consists of two parts; the information of driver and trip characteristics, including reasons for choosing the routes, and the development of choice model for predicting the probability that any route is chosen by the drivers. Interviews of present drivers were carried out at the rest area by the routes. Also, this study utilizes the Stated Preference technique by which drivers’ decisions are revealed under hypothetical situations. The results show that 80 percent of the passenger car drivers will switch from their existing routes if there appears traffic jam or the toll change. The importance of route choice criteria for passenger car drivers are travel time, traffic, surface quality, safety, and route familiarity respectively. The goods vehicle drivers' criteria are more complicated and depend on vehicle types. These goods transporters also indicated some restrictions such as the loading limitations, time constraints, and the company's restrictions. The Multinomial Logit Model was developed from the SP data on passenger car drivers. The result shows that the percent correctly predicted of the model is improved when segmented by the drivers’ trip purposes. The key factors influencing the route choice decisions are the kind of route attributes, namely accessibilities, travel times, traffics, and tolls. The effects of trip characteristics and socio-economic variables of drivers on such decisions are statistically significant. These factors include drivers’ income, sex, age, number of passengers, and destination.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.537-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคนขับรถ--ไทยen_US
dc.subjectการเลือกเส้นทาง--พยากรณ์--แบบจำลองทางคณิตศาสตร์en_US
dc.subjectAutomobile drivers--Thailanden_US
dc.subjectRoute choice--Forecasting--Mathematical modelsen_US
dc.titleพฤติกรรมการเลือกเส้นทางของผู้ขับขี่รถยนต์ระหว่างกรุงเทพฯ-ชลบุรีen_US
dc.title.alternativeRoute-choice behaviors of drivers travelling between Bangkok and Chonburien_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJittapatr.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSorawit.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.537-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somphop_du_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ รายการอ้างอิงและภาคผนวก973.9 kBAdobe PDFView/Open
Somphop_du_ch1_p.pdfบทที่ 1842.74 kBAdobe PDFView/Open
Somphop_du_ch2_p.pdfบทที่ 21.48 MBAdobe PDFView/Open
Somphop_du_ch3_p.pdfบทที่ 31.26 MBAdobe PDFView/Open
Somphop_du_ch4_p.pdfบทที่ 42.82 MBAdobe PDFView/Open
Somphop_du_ch5_p.pdfบทที่ 5962.96 kBAdobe PDFView/Open
Somphop_du_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.