Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66125
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรวรรณ ชัยลภากุล-
dc.contributor.advisorเจนจิรา ปานชมพู-
dc.contributor.authorสริดา เนาว์รุ่งโรจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-31T14:35:00Z-
dc.date.available2020-05-31T14:35:00Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66125-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560en_US
dc.description.abstractการตรวจสอบปริมาณน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพิจารณาคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง หากมีปริมาณน้ำปะปนในน้ำมันเชื้อเพลิงมากเกินกำหนด อาจทำให้คุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงและอาจส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบการทำงานของยานพาหนะและเครื่องยนต์ได้ โดยทั่วไปการตรวจหาปริมาณน้ำยังคงเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายและสารเคมีในการวิเคราะห์จำนวนมาก เนื่องจากการวิเคราะห์มักเป็นเทคนิคที่มีความซับซ้อน เช่น การไทเทรทแบบคาร์ลฟิชเชอร์ เป็นต้น ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์ฐานกระดาษแบบใหม่ที่ง่ายและราคาไม่แพงสำหรับการตรวจวัดปริมาณน้ำในน้ำมันเชื้อเพลิงโดยใช้โคบอลต์(II) คลอไรด์เป็นรีเอเจนต์สำหรับปฏิกิริยาการเกิดสี เมื่อเติมน้ำให้น้ำมันเชื้อเพลิงพบว่าสัญญาณการดูดกลืนแสงของโคบอลต์(II) คลอไรด์ที่ 585 และ 680 นาโนเมตรลดลงและสีน้ำเงินของโคบอลต์(II) คลอไรด์เปลี่ยนแปลงเป็นสีชมพูใสซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต่อมาได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์เชิงสีฐานกระดาษสำหรับการตรวจวัดน้ำอย่างง่ายและรวดเร็วโดยใช้โคบอลต์(II) คลอไรด์ ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมโคบอลต์(II) คลอไรด์และ Triton X-100 ที่เคลือบบนอุปกรณ์ฐานกระดาษ ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีทันทีเมื่อมีปริมาณน้ำในระบบ ผู้วิจัยพบว่าขีดจำกัดในการตรวจวัดน้ำมีค่าเท่ากับ 0.1 เปอร์เซ็นต์ (โดยปริมาตร) ซึ่งวิธีที่พัฒนาขึ้นได้ถูกนำมาใช้เพื่อตรวจหาปริมาณน้ำในตัวอย่างจริง นอกจากนี้อุปกรณ์นี้ยังสามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งที่ราคาไม่แพงและให้ผลที่น่าเชื่อถือสำหรับการตรวจวัดน้ำในน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานen_US
dc.description.abstractalternativeWater determination is important for the quality control of fuel. If there is high water content in the fuel, it might reduce the quality of the fuel itself, which can damage the vehicle injection systems and engines. Assessing water content is also costly and requires many chemicals for the testing as the analysis typically uses sophisticated instrumental techniques like Karl Fischer titration. In this work, we report a novel, simple, inexpensive paper-based analytical device for measuring water in fuel using cobalt(II) chloride as a colorimetric reagent. Upon the addition of water to the fuel, the absorption peak intensity of cobalt(II) chloride at 585 and 680 nm decreased and the blue color of cobalt(II) chloride became clear pink which as visible to the naked eye. A paper-based colorimetric device was then developed for the simple and rapid determination of water using the cobalt(II) chloride. Under optimized conditions, the cobalt(II) chloride and Triton X-100 coated on the test zone of the device immediately changed the color from blue to pink in the presence of water. The limit of detection (LOD) was found to be 0.1 % (V/V). The proposed method was successfully applied to detect water in real samples. Moreover, the proposed device can be used as an alternative tool with inexpensiveness and reliability for water determination in aviation fuel.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำมันเชื้อเพลิงen_US
dc.subjectเครื่องบิน -- เชื้อเพลิงen_US
dc.subjectเชื้อเพลิงen_US
dc.titleเซนเซอร์เชิงสีสำหรับการตรวจวัดปริมาณน้ำในน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานโดยอาศัยปฏิกิริยาของสารประกอบเชิงซ้อนโคบอลต์คลอไรด์en_US
dc.title.alternativeColorimetric sensor for detection of water in aviation fuel by complexation reaction of cobalt chlorideen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorOrawon.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorJanjira.P@chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarida Na_SE_2560.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.