Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66286
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ตรีศิลป์ บุญขจร | - |
dc.contributor.advisor | ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ | - |
dc.contributor.author | ปริลักษณ์ กลิ่นช้าง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-06-12T08:04:30Z | - |
dc.date.available | 2020-06-12T08:04:30Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9741703066 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66286 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาผลกระทบของการละครเบรคชท์ที่มีต่อละครไทยร่วมสมัยซึ่งเกิดจากการรับอิทธิพลทางการละครของเบรคชท์เข้ามาในสังคมไทย ทั้งในลักษณะของการรับตัวบทวรรณกรรมการละครเข้ามาจัดแสดงในสังคมไทยโดยตรงและโดยการนำแบบแผนหรือทฤษฎีทางการละครของเบรคชท์มาจัดแสดงในลักษณะของละครไทย ในกรณีนี้ผู้วิจัยใช้กลุ่มพระจันทร์เสียวการละครเป็นกรณีศึกษาหลัก นอกจากนั้นยังได้มีการศึกษารวบรวมละครไทยที่นำมาจากวรรณกรรมการละครของเบรคชท์ทุกเรื่องนับตั้งแต่การจัดแสดงละครเบรคชท์ในสังคมไทยเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2519 จนถึงครั้งล่าสุดในปี พุทธศักราช 2543 ได้แก่ เรื่องนี่แหละโลก ซึ่งจัดแสดงในปี พุทธศักราช 2519 เรื่องคนดีที่เสฉวน ซึ่งจัดแสดงในปี พุทธศักราช 2522 เรื่องโอเปร่ายาจก ซึ่งจัดแสดงในปี พุทธศักราช 2527 เรื่องกาลิเลโอ ซึ่งจัดแสดงในปีพุทธศักราช 2528 เรื่องแม่ค้าสงคราม ซึ่งจัดแสดงในปี 2529 และเรื่อง คนเท่ากับคน(ไม่เท่ากับช้าง) ซึ่งจัดแสดงในปีพุทธศักราช 2538 และปีพุทธศักราช 2543 เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะของละครเบรคชท์ รวมทั้งศึกษาภาพรวมของการนำละครเบรคชท์มาจัดแสดงในสังคมไทย จากการศึกษาพบว่า ลักษณะเนื้อหาที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมการเมืองไทยรวมทั้งการแสวงหาและการทดลองละครแนวใหม่เพื่อจัดแสดงในสังคมไทยเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ละครเบรคชท์ส่งผลกระทบต่อละครไทยร่วมสมัย ผลกระทบสำคัญคือการสร้างละครไทยแนวสังคมการเมืองและละครความคิดที่มีรูปแบบและแนวทางแปลกใหม่ไปจากละครสมัยใหม่แนวสมจริงที่มีอยู่โดยเนื้อหาของละครให้ความสำคัญกับการนำเสนอปัญหาทางสังคมการเมือง รูปแบบของละครมีลักษณะที่ไม่ให้ความสำคัญกับความสมจริงทางการละครปรัชญาทางการละครมีลักษณะที่กระตุ้นให้คิดพิจารณามากกว่ากระตุ้นความรู้สีกคล้อยตามรวมทั้งกระตุ้นจิตสำนึกทางสังคมโดยตรง โดยเฉพาะผลงานของกลุ่มพระจันทร์เสียวการละคร แสดงให้เห็นผลกระทบของการละครเบรคชท์ที่มีต่อการละครไทยร่วมสมัยใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะ”เรื่องฝรั่ง’’และลักษณะ”เรื่องไทย”ลักษณะ “เรื่องฝรั่ง" หมายถึงการนำวรรณกรรมการละครและทฤษฎีละครของเบรคชท์มาจัดแสดงในสังคมไทย โดยตรง ด้วยการแปลและดัดแปลงให้เป็นละครเบรคชท์แบบไทยและมีความสอดคล้องกับบริบททางสังคมไทยได้แก่ เรื่องนี่แหละโลก ส่วนลักษณะ ‘‘เรื่องไทย’’ หมายถึง การนำทฤษฎีละครแบบเอพิคของเบรคชท์มาประยุกต์ใช้ในละครไทยด้วยการสร้างวรรณกรรมการละครและละครไทยร่วมสมัยแนวใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นของตนเอง ได้แก่ เรื่อง คือผู้อภิวัฒน์ | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study the impact of Brecht's dram a on Thai contemporary theatre, which appears in the forms of direct adoption of Brecht’s plays and application of his dramatic theory to Thai-style theatrical performance. The Crescent Moon Group is the case studied in this thesis. To explore the unique characteristics of Brecht's dram a and the overall view of the performance of his dramatic works in Thai society, all of Brecht’s Thai-language adaptations performed in Thailand from 1976 to 2000 were studied. These are Ni Lae Lok (Die Ausnahme und die Regel, 1976), Khon Di Thi Sezuan (Der Gute Mensch Von Sezuan, 1979), Opera Yachok (Dreigroschen Oper, 1985), Galileo (Leben des Galilei, 1986), Mae Kha Songkhram (Mutter Courage und ihre Kinder, 1987), Khon Thao Kap Khon (Mai Thao Kap Chang) (Mann ist Mann, 1995 and 2000). The study shows that the suitability of the content of the plays for Thai political and social contexts together with the search for and the experimentation with new-style drama for Thai society are the important factors that account for Brecht’s dramatic influence on Thai contemporary theatre. A significant product of this influence is the creation of Thai socio-political plays with new patterns and styles different from those found in the already existing realistic drama. The impact of Brecht's drama can be seen particularly in two theatrical works of the Cresent Moon Group, which belong to two different types. The first one, Ni Lae Lok (Die Ausnahme und Regel) is a “western-content play’’ which shows direct adoption of Brecht's text and his dramatic theory for performance in Thai society. The play was a Thai-style translated version of Brecht’s play, adapted to suit the Thai context. The second one, Khu Phu Aphiwat (The Revolutionist), is a “Thai-content play,” with unique characteristics created by the application of Brecht’s epic drama theory to contemporary Thai theatre. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | เบรชท์, เบรโทลท์, ค.ศ. 1898-1956 -- ละคร | - |
dc.subject | บทละคร -- ประวัติและวิจารณ์ | - |
dc.subject | ละคร -- ไทย -- อิทธิพลต่างประเทศ | - |
dc.subject | ละคร -- ไทย | - |
dc.subject | กลุ่มพระจันทร์เสี้ยว | - |
dc.subject | ละครมหากาพย์ | - |
dc.title | ผลกระทบของการละครเบรคชท์ที่มีต่อละครไทยร่วมสมัย : กรณีศึกษากลุ่มพระจันทร์เสี้ยว | - |
dc.title.alternative | Impact of Brecht's drama on Thai contemporary theatre : a case study of the Crescent Moon Group | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วรรณคดีเปรียบเทียบ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Parilak_kl_front_p.pdf | 850.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Parilak_kl_ch1_p.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parilak_kl_ch2_p.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parilak_kl_ch3_p.pdf | 2.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parilak_kl_ch4_p.pdf | 7.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parilak_kl_ch5_p.pdf | 938.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Parilak_kl_back_p.pdf | 884.91 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.