Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66365
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประศักดิ์ หอมสนิท | - |
dc.contributor.advisor | วิชุดา รัตนเพียร | - |
dc.contributor.author | สุมงคล ดีมาก | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-06-15T06:36:08Z | - |
dc.date.available | 2020-06-15T06:36:08Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740309267 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66365 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ เกี่ยวกับการจัดการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนที่มีทรัพยากรจำกัด 2) ศึกษาสภาพการจัดห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนที่มีทรัพยากรจำกัด และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนที่มีทรัพยากรจำกัด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนที่ใช้ศึกษาผ่านการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้บริหารโรงเรียน 34 คน ครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ 34 คน และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 34 ห้อง ในโรงเรียนที่มีทรัพยากรจำกัด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ผู้วิจัยเลือกโรงเรียนที่มีทรัพยากรจำกัดจาก 14 จังหวัดใน 5 ภูมิภาค ผู้วิจัยเก็บข้อมูลแต่ละโรงเรียนโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ และสำรวจสภาพของห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ทรัพยากรทางการศึกษาที่โรงเรียนที่มีทรัพยากรจำกัดใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และงบประมาณ โดยนำแผนงานและเป้าหมาย บรรจุไว้ในธรรมนูญโรงเรียน สำหรับจัดทำงานหรือโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรจำกัด มีการขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาทรัพยากรจำกัดจากชุมชนเป็นหลัก ครูผู้สอนมีวิธีการจัดการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์สองวิธี ได้แก่ 1) แบ่งนักเรียนเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มศึกษา ทฤษฎีจากใบงานและกลุ่มฝึกปฏิบัติจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละกลุ่มมีการสสับกันเรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ 2) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม โดยสมาชิกในกลุ่มมีจำนวนเท่ากับจำนวน เครื่องคอมพิวเตอร์ จัดตารางสอนให้แต่ละกลุ่มมีเวลาเรียนที่ไม่ตรงกัน ทำให้นักเรียนทุกคนสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการฝึกปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ 2. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใช้สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เน้นความประหยัด และคุ้มค่า โดยใช้วัสดุที่มีอยู่แล้วในโรงเรียน หรืออุปกรณ์ที่ได้รับบริจาคเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน มีการตัดแปลง หรือนำอุปกรณ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ชำรุดแล้ว มาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพแก่เครื่องอื่น ๆ การซ่อมบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่วัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะทำในส่วนที่จำเป็น 3. แนวทางการจัดการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนที่มีทรัพยากรจำกัด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ แบ่งได้เป็นสองแนวทางคือแนวทางด้านการจัดการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ และแนวทางด้านการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยแนวทางด้านการจัดการเรียนการสอนมีการแบ่งนักเรียนเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติ แต่ละกลุ่มสลับกันเรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ แนวทางการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มีการกำหนดแผนงานและเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาทรัพยากรจำกัดในธรรมนูญ โรงเรียน และร่วมกับชุมชนในการแก้ปัญหา โดยโรงเรียนช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน เพื่อให้ ชุมชนรู้สึกว่าโรงเรียนเป็นของชุมชน และให้การช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียนต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were (1) to study the opinions of principals and computer teachers toward computer instructional management เท the limited resources schools (2) to study computer labs settings in the limited resources schools, and (3) to propose guidelines for computer instructional management in the limited resources schools under the Office of the National Primary Education Commission. Computer instructional experts from the Office of the National Primary Education Commission selected the limited resources schools for this research. The samples included in this study were 34 principals, 34 computer teachers and 34 computer labs in limited resources schools under the Office of the National Primary Education Commission. Thirty-four limited resources schools were randomly selected from 14 provinces in five regions. The data collected by interviewing principals and teachers and survey conditions and settings of computer labs. The findings were as follows: 1. Educational resources used in limited resources schools for computer instruction were computer personnel, software and equipment, computer lab, and budget. Action plans and goals were included in school charter for implementation or for conducting projects to solve limited resources problems. Schools sought cooperation and support from community. Computer teachers managed their teaching in two methods 1) divided students into two groups, one group studied theory from work sheets while another group practiced with computer and vice versa and 2) divided students in groups with members of each group was equal to numbers of computer. Each group took turns to study and practice with computers. 2. Computer labs were set to support computer instruction with emphasis on economy, efficiency and utilized materials existing in schools or donated equipment. Computer parts were modified or repaired for reuse. The maintenance or repair conducted based on necessity. 3. There are two guidelines for computer instructional management in the limited resources schools under the Office of the National Primary Education Commission: computer instructional management and limited resources management. The students should be divided into two groups, each group took turns to study theory and practice. To manage limited resources, action plan and goals should be set into school charter, schools should cooperate with community, support community activities, create the awareness that schools belong to community and community has to support schools. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร | en_US |
dc.subject | คอมพิวเตอร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | en_US |
dc.subject | Elementary schools -- Administration | en_US |
dc.subject | Computers -- Study and teaching (Elementary) | - |
dc.title | การนำเสนอแนวทางการจัดการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ ในโรงเรียนที่มีทรัพยากรจำกัด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ | en_US |
dc.title.alternative | Proposed guidelines for computer instructional management in the limited resources schools under the Office of the National Primary Education Commission | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Prasak.h@Car.chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Vichuda.R@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sumongcol_de_front_p.pdf | 861.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumongcol_de_ch1_p.pdf | 869.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumongcol_de_ch2_p.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumongcol_de_ch3_p.pdf | 804.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumongcol_de_ch4_p.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumongcol_de_ch5_p.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumongcol_de_back_p.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.