Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66484
Title: สุนทรียภาพของโคลงในวรรณคดีไทย : การสร้างสรรค์วรรณศิลป์จากธรรมชาติของภาษาไทย
Other Titles: Aesthetics of Khlong in Thai poetry : literary creation from the nature of Thai language
Authors: วีรวัฒน์ อินทรพร
Advisors: ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Cholada.R@chula.ac.th
Subjects: โคลง
กวีนิพนธ์ไทย
การแต่งคำประพันธ์
สุนทรียภาพ
วรรณคดีไทย
Poetry
Thai poetry
Poetics
Thai literature
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาสุนทรียภาพของโคลงในวรรณคดีไทยในด้านความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติของภาษาไทยกับสร้างสรรค์วรรณศิลป์ กลวิธีการสร้างความงามทางวรรณศิลป์ ตลอดจนการสืบทอดและการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ในการแต่งโคลง โดยศึกษาโคลงทุกประเภทจากตัวบทวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ในยุครัตนโกสินทร์ ผลการวิจัยพบว่า โคลงเป็นรูปแบบคำประพันธ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากธรรมชาติของภาษาไทย โดยเฉพาะการบังคับเสียงวรรณยุกต์ซึ่งเป็นกรอบบังคับทางฉันทลักษณ์ที่แตกต่างไปจากคำประพันธ์ชนิดอื่น นอกจากนี้กวีได้ใช้ธรรมชาติภาษาไทยตกแต่งโคลงให้มีความไพเราะคมคาย ทั้งเรื่องเสียง เรื่องคำ และน้ำหนักของความหมาย ในเรื่องเสียง ได้แก่ เสียงวรรณยุกต์ เสียงพยัญชนะ และเสียงสระ กวีให้ความสำคัญแก่เสียงวรรณยุกต์ในตำแหน่งท้ายวรรคหรือท้ายบาทด้วยการใช้เสียงจัตวาและเสียงสามัญดังที่พบในยวนพ่ายโคลงดั้นและในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และการเล่นเสียงวรรณยุกต์ต่างระดับ ส่วนเสียงพยัญชนะและเสียงสระกวีใช้การซ้ำเสียงพยัญชนะต้น การแทรกเสียงพยัญชนะ /ร/ ในคำ และการซ้ำเสียงสระสร้างเสียงสัมผัสคล้องจองและเสียงเสนาะในโคลง ในเรื่องจังหวะ กวีใช้จังหวะหนักเบาของการออกเสียงพยางค์ภาษาไทยเพื่อความไพเราะ ในเรื่องคำ กวีใช้คำพ้องรูป พ้องเสียง และใช้คำเดียวกันซ้ำกันเพื่อเล่นกับความหมายหลายนัยของคำโดยใช้กลวิธีการซ้ำคำในรูปแบบต่างๆ อันเป็นกลวิธีที่นิยมใช้มากที่สุดในการแต่งโคลง นอกจากนี้ยังเล่นกับน้ำหนักและระดับของความหมายด้วยการใช้คำซ้ำ คำ 4 พยางค์ การลำดับคำ และการละคำ กวีใช้ลักษณะเด่นของธรรมชาติภาษาไทยเหล่านี้รวมกันไปในโคลงแต่ละบท ส่งผลให้โคลงมีสุนทรียภาพทั้งทางด้านเสียงและความหมาย ได้แก่ ความไพเราะจากเสียงและคำ การจัดหมวดหมู่ความคิด การเน้นอารมณ์ความรู้สึก การเล่นความหมายหลายนัย การลำดับความ และการสรุปความ แนวคิดสำคัญเรื่องการสร้างสุนทรียภาพของโคลงในระดับเสียงและคำด้วยการเล่นเสียง การเล่นคำ และการซ้ำคำ รวมทั้งการสร้างสุนทรียภาพในระดับความด้วยการขยายความและการล้อความโคลงกับคำประพันธ์ชนิดอื่นเป็นสิ่งที่ปรากฏมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และกวีในสมัยต่อมาได้สืบทอดและสร้างสรรค์สุนทรียภาพนี้ในการแต่งโคลงในสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงกวีนิพนธ์สมัยใหม่ด้วย นอกจากนี้การสืบทอดและการสร้างสรรค์สุนทรียภาพที่สัมพันธ์กับรูปแบบของโคลงมีผลให้โคลงมีรูปแบบและลีลาทางวรรณศิลป์แปลกใหม่ต่างไปจากเดิมและแสดงเอกลักษณ์ของกวีแต่ละคน ขณะเดียวกันกวีก็ยังคงมุ่งรักษาแบบแผนการเล่นกับน้ำหนักเสียงอันเป็นลักษณะเด่นของโคลงในด้านวรรณศิลป์ซึ่งปรากฏให้เห็นในโคลงตั้งแต่อดีตจนถึงโคลงในสมัยปัจจุบัน
Other Abstract: This dissertation aims to study aesthetics of Khlong in Thai poetry in relation to the nature of the Thai language. The selected texts include all types of Khlong written from the Ayudhaya period to the modern poetry of the present day, Rattanakosin era. Khlong are found to be different from other types of Thai poetry in their unique prosodic patterns: Khlong require the presence of tone marks and the nature of the Thai language contributes to the poets' creation of melodious and witty Khlong in the following respects: euphony, diction, and fine shades of meaning. Euphony consists of tones consonant and vowel sounds. Poets place emphasis on tones at the end of each hemistich or each full line by using rising tone and mid tone as seen in Yuan Phai Kholng Dun and Supreme Patriarch H.R.H. Prince Paramanujitajinorasa's poetic works, and on the different tone levels. As for consonant and vowel sounds, alliteration, epenthetic /r/, and assonance are employed to create rhymes and the harmonious qualities of Khlong. Additionally, in order to create the beautiful rhythmic patterns of Khlong, the stressed and unstressed syllables of Thai pronunciation are employed. As for diction, puns, either homophones or homonyms and repeated words are used to play on the multiple meanings of words. They give rise to various types of repetition, a popular literary technique in composing Khlong. In terms of semantics, reduplication, tetrasyllabic doublets, word order, and ellipsis are employed to enhance the effectiveness of the words. The employment of all these characteristics of the Thai language in each Khlong enriches its euphonic and semantic aesthetic value as produced by the beauty of sounds and words, the classification of concepts, the emphasis on feelings, the multiplicity of meaning, the organization of concepts, and summaries. Furthermore, this dissertation argues that the main aesthetic concept of Khlong the creation of euphonic and verbal words aesthetic of Khlong which is based on the use of euphonious sounds, puns, and repeated words as well as the beauty of the poetic content generated by the addition of meaning and the recasting of thoughts found in Khlong into different types of verse - initially developed in Ayudhaya Khlong and has since influenced Rattanakosin Khlong, including modern Khlong. In addition, there has been a preservation and creation of aesthetics in relation to the prosodic pattern of previous Khlong, resulting in different novel styles of writing that reflect the individuality of each poet. Even though their writing styles are different, they still have to adhere to the conventional rules for the rhythmic nature of Khlong, which makes up the unique aesthetics of Khlong as seen in poetic works from the past to the present.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66484
ISBN: 9741746318
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weerawat_in_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ928.85 kBAdobe PDFView/Open
Weerawat_in_ch1_p.pdfบทที่ 11.37 MBAdobe PDFView/Open
Weerawat_in_ch2_p.pdfบทที่ 23.46 MBAdobe PDFView/Open
Weerawat_in_ch3_p.pdfบทที่ 35.85 MBAdobe PDFView/Open
Weerawat_in_ch4_p.pdfบทที่ 45.51 MBAdobe PDFView/Open
Weerawat_in_ch5_p.pdfบทที่ 5989.91 kBAdobe PDFView/Open
Weerawat_in_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.