Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66529
Title: การใช้แนวทางเมทาโบโลมิกส์เพื่อศึกษาศักยภาพในการรักษาของยาสมุนไพรไทย : ผลของว่านชักมดลูกภาวะพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจนในหนูแรท
Other Titles: Metabolomics approaches for evaluating therapeutic potential of Thai traditional medicine: Effect of Curcuma comosa in estrogen-deficient rats
Authors: ณิชาบูล ชายหาด
รัชนี ปานรักษ์
Advisors: นวพร วินยเวคิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Nawaporn.V@Chula.ac.th
Subjects: ว่านชักมดลูก
Curcuma comosa
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่พบมากในหญิงวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ของหญิงในวัยนี้ เนื่องด้วยการเกิดโรคต่างๆ มักส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณของเมทาโบไลต์ในร่างกายเมื่อ เทียบกับสภาวะปกติ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารเมทาโบไลต์กับการเกิดโรคกระดูกพรุน โดยใช้วิธีการเมทาโบโลมิกส์ โดยศึกษาระดับของเมทาโบไลต์ในหนูที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน (OVX) เปรียบเทียบกับหนูในสภาวะปกติ (sham) และศึกษาประสิทธิภาพการรักษาหนูกลุ่ม OVX โดยใช้สารสกัดว่านชัก มดลูกเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยสารไดเอริลเฮปทานอยด์บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์หลักในว่านชักมดลูก ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเมทาโลมิกส์แบบไม่จำเพาะเจาะจง (untargeted metabolomics) และแบบจำเพาะ เจาะจง (targeted metabolomics) โดยวิเคราะห์ปริมาณของไขมันชนิดต่างๆที่พบมากในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบการเปลี่ยนแปลงระดับของเมทาโบไลต์จำนวน 202 และ 10 ไอออน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบหนูกลุ่ม OVX กับหนูกลุ่ม sham ส่วนประสิทธิภาพการรักษาหนูกลุ่ม OVX ด้วยสารสกัดที่ได้จากว่านชักมดลูกเทียบกับสารไดเอ ริลเฮปทานอยด์ พบว่า การรักษาด้วยสารสกัดที่ได้จากว่านชักมดลูกส่งผลให้ระดับเมทาโบไลต์ในหนูกลุ่ม OVX มี ค่าใกล้เคียงกับหนูกลุ่ม sham มากกว่าการรักษาหนูดังกล่าวด้วยสารไดเอริลเฮปทานอยด์บริสุทธิ์ แสดงถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาสารสกัดว่านชักมดลูกให้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคกระดูกพรุนยิ่งขึ้นต่อไป
Other Abstract: Osteoporosis is a bone disease found frequently in postmenopausal women, which result from low level of estrogen in the body. Because changes in the levels of metabolites in the body has been shown to link to many diseases, this research was aimed to study the relationship between levels of metabolites and osteopenia disease using metabolomics approaches. In this work, untargeted and targeted metabolomics analyses discovered changes in levels of 202 and 10 metabolite ions in normal (sham) rats compared with those of the ovariectomized (OVX) rats, respectively. In addition, when metabolomics was applied to study the therapeutic effect of Curcuma comosa extracts on the OVX rats compared to that of the pure active compound in C. comosa, diarylheptanoid, it was found that levels of metabolites in the OVX rats under the treatment of the extracts were closer to those of the sham controls than those given diarylheptanoid. The results suggested the possibilities of developing the C. comosa extracts to have better therapeutic potentials in the future.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66529
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557_32.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.