Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66552
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนันต์ เจียรวงศ์-
dc.contributor.authorสุรวัฒน์ สุวรรณยั่งยืน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี-
dc.date.accessioned2020-06-23T04:11:42Z-
dc.date.available2020-06-23T04:11:42Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9745320323-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66552-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาบทบาทของสภาพคล่องในฐานะที่เป็นตัวแปรเสริมในตัวแบบราคาของสินทรัพย์ ตลอดจนบทบาทของสภาพคล่องในฐานะที่เป็นตัวชี้วัดการควบคุมตลาดของนักลงทุนที่มั่นใจในตนเองเกินขนาด อย่างไม่มีเหตุผล โดยใช้ข้อมูลรายเดือนของหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงปี 2537 – 2547 และใช้อัตราส่วนความไม่มีสภาพคล่องเป็นตัววัดสภาพคล่อง โดยในการศึกษาจะเริ่มจากการศึกษา บทบาทของสภาพคล่องในฐานะที่เป็นตัวแปรเสริมในตัวแบบราคาของสินทรัพย์ ซึ่งพบว่าสภาพคล่องมีบทบาท สำคัญในการช่วยอธิบายอัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญ โดยตัวแบบ CAPM ที่เพิ่มตัวแปรด้านสภาพคล่อง (CAPML) นั้นมีความสามารถในการอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ได้ดีที่สุด นอกจากนี้เมื่อศึกษาเรื่อง ของส่วนชดเชยความเสี่ยงในตัวแบบที่มีการเพิ่มตัวแปรสภาพคล่อง ผลที่ได้พบว่าค่าส่วนชดเชยความเสี่ยงของ ปัจจัยด้านสภาพคล่องมีค่าเป็นบวกสอดคล้องกับที่ได้ตั้งสมมุติฐานเอาไว้ สำหรับผลการศึกษาในเรื่องของบทบาทของสภาพคล่องในฐานะที่เป็นตัวชี้วัดการควบคุมตลาดของนัก ลงทุนที่มั่นใจในตนเองเกินขนาดอย่างไม่มีเหตุผลนั้น จะศึกษาโดยพิจารณาจากผลกำไรจากกลยุทธ์การลงทุนแบบ โมเมนตัมในสถานะต่างๆของตลาด โดยใช้อัตราผลตอบแทนของตลาด และสภาพคล่องของตลาดเป็นเกณฑ์ใน การแบ่งสถานะ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าในช่วงตลาดขาขึ้นผลกำไรที่ได้จากการลงทุนในช่วงที่ตลาดมีสภาพคล่องสูง จะให้ผลกำไรมากกว่าการลงทุนในช่วงที่ตลาดมีสภาพต่ำ ซึ่งผลการศึกษาที่ได้พบว่าสอดคล้องกับตัวแบบของ Baker and Stein (2002) ที่ว่านักลงทุนที่มั่นใจในตนเองเกินขนาดอย่างไม่มีเหตุผลจะเข้ามาในตลาดก็ต่อเมื่อ มุมมองที่มีต่อตลาดเป็นบวกเท่านั้น อย่างไรก็ตามผลการศึกษาที่ได้มีนัยสำคัญเฉพาะในกรณีที่ใช้สภาพคล่อง ย้อนหลัง 3 เดือนเท่านั้น และเมื่อพิจารณาในกรณีของผลกำไรหลังปรับความเสี่ยงพบว่าผลกำไรที่เกิดจากกลยุทธ์ การลงทุนแบบโมเมนตัมนั้นลดลงเข้าใกล้ศูนย์มากยิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis study investigates the role of liquidity as an additional factor in asset pricing and as an indicator of the relative dominance of the irrationally overconfident investors in the market. Data used are based mainly on monthly data of common stocks registered with Stock Exchange of Thailand, from 1994 to 2004. I use illiquidity ratio as a proxy of liquidity. I firstly investigate the role of liquidity in asset pricing and find that the liquidity augmented CAPM model is the best model for explaining abnormal return. Moreover, I find that liquidity premium has positive sign as expected. For the study of the role of liquidity as an indicator of the relative dominance of the irrationally overconfident investors in the market, I investigate the dependence of momentum profitability on the state of the market. The market state is defined on the basis of market return and market liquidity. I find that high-liquidity states are associated with higher momentum profits than low-liquidity states when the market experiences recent gains. These findings are consistent with the model of Baker and Stein (2002), in which irrational investors become active only when their sentiment is positive and their dominance in the market results in higher market liquidity. However, these results are significant only in case of lagged market liquidity 3 months. In addition, I find that momentum profits after adjusted momentum profit by risk factors are closer to zeroen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยen_US
dc.subjectการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินen_US
dc.subjectสภาพคล่อง (เศรษฐศาสตร์)en_US
dc.subjectStock Exchange of Thailanden_US
dc.subjectAsset-liability managementen_US
dc.subjectLiquidity (Economics)en_US
dc.titleบทบาทของสภาพคล่องในการหาราคาของสินทรัพย์ และการเป็นตัวชี้วัดอารมณ์ตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeRole of liquidity in asset pricing and as an indicator of market sentiment of the Stock Exchange of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการเงินen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAnant.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surawat_su_front_p.pdf852.47 kBAdobe PDFView/Open
Surawat_su_ch1_p.pdf746.87 kBAdobe PDFView/Open
Surawat_su_ch2_p.pdf949.77 kBAdobe PDFView/Open
Surawat_su_ch3_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Surawat_su_ch4_p.pdf954.82 kBAdobe PDFView/Open
Surawat_su_ch5_p.pdf670.12 kBAdobe PDFView/Open
Surawat_su_back_p.pdf700.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.