Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6694
Title: ผลของโปรแกรมการสนับสนุนความรู้ของผู้ดูแลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลและการฟื้นสภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง
Other Titles: Effects of supporting knowledge of family caregiver on family caregiver burden and recovery of brain injury patients
Authors: จันทพร ธีรทองดี
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: ผู้ดูแล -- แง่จิตวิทยา
สมอง -- บาดแผลและบาดเจ็บ
ผู้ป่วย -- การดูแล
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการสนับสนุนความรู้ของผู้ดูแลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลและการฟื้นสภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลและผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมประสาท หอผู้ป่วยอุบัติเหตุเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 40 ครอบครัว กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการสนับสนุนความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการสนับสนุนความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองที่สร้างขึ้นจากแนวคิดของ Gerber (2005) และ Orem (1991) ประกอบด้วย 1. การสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและผู้ดูแล 2. การให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมแก่ผู้ป่วย 3. การสนับสนุนและการให้ความรู้แก่ผู้ดูแล ประกอบด้วยการฟื้นฟูสภาพด้านการรับความรู้สึกและการฟื้นฟูสภาพด้านการเคลื่อนไหว รวม 14 วัน และ 4. การประเมินผลการฝึกทักษะด้วยแบบประเมินการฟื้นสภาพผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองของ Rapport et al (1982) ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของการสังเกต (Interrater reliability) เท่ากับ 0.83 และ 0.85 ตามลำดับ และประเมินการรับรู้ภาระผู้ดูแลของผู้ดูแลด้วยแบบประเมินที่ดัดแปลงมาจาก Oberst (1990) ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดลองที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การรับรู้ภาระการดูแลของผู้ดูแลภายหลังได้รับโปรแกรมฯของกลุ่มทดลองมีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการรับรู้ภาระผู้ดูแลของผู้ดูแลกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การฟื้นสภาพของผู้บาดเจ็บที่สมองภายหลังได้รับโปรแกรมฯดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการฟื้นสภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This quasi experimental research aimed to investigate the effects of supporting knowledge of family caregiver program on caregiver burden, and recovery of brain injury patients. The samples were 40 patients with brain injury and their caregivers, aged 20-59 years admitted to the Neurosurgery intermediate care unit, and emergency care unit at King Chulalongkorn Memorial Hospital. The subjects were arranged into two groups including a control, and an experimental group. A control group received conventional nursing care while the experimental group received the two week session of supporting knowledge of family caregiver program. The program was developed based on Gerber (2005)'s theory, and Orem (1991) theory, and was validated by a panel of experts. The outcomes of this study were measured by using Oberst{7f2019}s Caregivering Burden Scale, and Rappaport et al (1982)'s Disability Rating Scale. The Alpha Cronbach's reliability of Oberst's Caregivering Burden Scale was .92. The interrater reliability of Rappaport et al (1982)'s Disability Rating Scale ranged from .83 to .85. Data were analyzed using descriptive statistic, and t-test. Major findings were as follows: The family caregiver burden after receiving the program were significantly lower than before receiving the program at the level of .05 The family caregiver burden of the experimental group was lower than that of the control group at the level of .05 The recovery of brain injury patients after receiving the program were significantly lower than before receiving the program at the level of .05 The recovery of brain injury patients of the experimental group was lower than that of the control group at the level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6694
ISBN: 9741422121
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chantaporn_Te.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.