Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67114
Title: ผลของขนาดอนุภาคดิสเพอร์ชันที่มีต่อกระบวนการผลิต และคุณภาพของถุงมือยางทางการแพทย์ที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ
Other Titles: Effect of dispersion particle size on processing and quality of medical natural rubber latex gloves
Authors: ชมพูนุท สัญจร
Advisors: ชูชาติ บารมี
วราภรณ์ ขจรไชยกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: น้ำยาง
ถุงมือยาง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาผลของขนาดอนุภาคดิสเพอร์ชัน ที่มีต่อกระบวนการผลิตและคุณภาพของถุงมือยางทางการแพทย์ ที่ผลิตจากนํ้ายางธรรมชาติ เพื่อทราบขนาดที่เหมาะสมในการนำไปใช้เตรียม น้ำยางผสมสารเคมีเพื่อใช้ในการผลิตถุงมือยาง สำหรับการตรวจโรคชนิดใช้ครั้งเดียวตามมาตรฐาน มอก.1056-2540 โดยสารเคมีที่เป็นสารของแข็งไม่ละลายนํ้า ก่อนเติมในนํ้ายางสำหรับเตรียมนํ้ายางผสมสารเคมี จะต้องเตรียมให้อยู่ในรูปดิสเพอร์ชัน เนื่อง จากโมเลกุลของยางมีขนาดเล็กและแขวนลอยอยู่ในนํ้า ถ้าเติมสารเคมีในรูปของแข็งจะไม่สามารถเข้าทำปฏิกิริยาได้ จึงต้องเตรียมสารเคมีให้อยู่ในรูป ดิสเพอร์ชัน โดยการใช้เครื่อง บอลมิล บดย่อย สำหรับถุงมือยางที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้ผลิตขึ้นเองตามสูตรที่กำหนด ตัวแปรที่ใช้ศึกษาคือ เวลาการบ่มนํ้ายางผสมสารเคมี 4, 5, 6 และ 7 วัน ก่อนนำไปใช้จุ่มถุงมือและ ขนาดอนุภาคดิสเพอร์ชันของสารเคมีในระบบวัลคาไนซ์ ได้แก่ Sulfur ดิสเพอร์ชัน ขนาดอนุภาคเฉลี่ย 4.69,3.78, 2.60 และ 2.48 ไมโครเมตร, ZDEC ดิสเพอร์ชัน ขนาดอนุภาคเฉลี่ย 3.30, 2.32, 1.58 และ 1.38 ไมโครเมตร และZnO(WS) ดิสเพอร์ชัน ขนาดอนุภาคเฉลี่ย 1.25, 1.19, 0.85 และ 0.80 ไมโครเมตร นำถุงมือยางที่ได้ศึกษา องศาการคงรูปของนํ้ายาง, สมบัติด้านการดึงยาง (ก่อนบ่มเร่งและหลังบ่มเร่งที่ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 22 ชั่วโมง) และ ลักษณะพื้นผิวของถุงมือยาง พบว่าถุงมือยางที่ใช้นํ้ายางผสมสารเคมีต่างๆ ตามที่กำหนดและใช้ Sulfur ดิสเพอร์ชัน ขนาดอนุภาคเฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.78 ไมโครเมตร, ZDEC ดิสเพอร์ชัน ขนาดอนุภาคเฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.3 ไมโครเมตรและ ZnO(WS) ดิสเพอร์ชัน ขนาดอนุภาคเฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.25 ไมโครเมตร และบ่มน้ำยางดังกล่าว 6-7 วัน ถุงมือยางตามเงื่อนไขนี้ มีสมบัติด้านการดึงยางอยู่ในเกณฑ์ข้อกำหนดของ มอก.1056-2540 และจากการศึกษาพบว่าขนาดอนุภาคดีสเพอร์ชันของสารเคมีในระบบวัลคาไนซ์ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อลักษณะพื้นผิวของถุงมือยาง
Other Abstract: The main objective of this research was to study the effect of dispersion particle size on processing and quality of medical natural rubber latex gloves. Determination of the optimal dispersion particle size suitable for the production of natural rubber gloves which meet the requirement of TIS 1056-2540 was studied. Solid substance added in to natural rubber latex must be in dispersion form because the rubber particle is very small within colloidal system. An addition of powder chemical may also cause coagulation therefore it is necessary that solid substance must be in dispersion form which normally done by using ball mill. The gloves produced from this study were fabricated by certain setting compound latex formulas. The experiment was conducted by varying the maturation time of compound latex at 4, 5, 6 and 7 days and varying the dispersion particles size of vulcanization system, i.e. Sulfur dispersion particle size of 4.69, 3.78, 2.60 and 2.48 µm, ZDEC dispersion particle size of 3.30, 2.32, 1.58 and 1.38 µm, ZnO(WS) dispersion particle size of 1.25, 1.19, 0.85 and 0.80 µm. The properties of the produced gloves such as degree of vulcanization, tensile properties (before and after aging at 100 °C for 22 hour) 1 and surface of rubber gloves were determined. It was found that the gloves produced by compounding with Sulfur dispersion particle size of 3.78 µm or less, ZDEC dispersion particle size of 3.3 µm or less, ZnO(WS) dispersion particle size of 1.25 µm or less, that were be matured within 6-7 days. By using these conditions, the produced gloves show tensile properties met the requirement of TIS 1056-2540. It was also observed that there is no different of surface of rubber gloves produced from different particles size of vulcanization system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67114
ISBN: 9741301421
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chompunoot_sa_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ831.04 kBAdobe PDFView/Open
Chompunoot_sa_ch1_p.pdfบทที่ 1633.6 kBAdobe PDFView/Open
Chompunoot_sa_ch2_p.pdfบทที่ 21.56 MBAdobe PDFView/Open
Chompunoot_sa_ch3_p.pdfบทที่ 3713.82 kBAdobe PDFView/Open
Chompunoot_sa_ch4_p.pdfบทที่ 41.64 MBAdobe PDFView/Open
Chompunoot_sa_ch5_p.pdfบทที่ 5674.48 kBAdobe PDFView/Open
Chompunoot_sa_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.