Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6772
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดจุดสะท้อนบนฝ่าเท้าต่อความเจ็บปวดและจำนวนครั้งของการใช้ยาระงับปวดของผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมาก
Other Titles: Effects of symptom management with reflexology program on pain and frequency of pain medication taking in elderly patient with prostatectomy
Authors: ธัญกนก พงศ์ปิยะไพบูลย์
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: s_sasat@hotmail.com
Subjects: ผู้สูงอายุ
ต่อมลูกหมาก -- ศัลยกรรม
เท้า -- การนวด
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดจุด สะท้อนบนฝ่าเท้าต่อความเจ็บปวดและจำนวนครั้งของการใช้ยาระงับปวดของผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมาก โดยใช้แบบวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วย สูงอายุที่เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกทางท่อปัสสาวะ ที่เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 40 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 คนเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ในจำนวนที่เท่ากัน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม การจัดการกับอาการร่วมกับการนวดจุดสะท้อนบนฝาเท้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการจัด การกับอาการร่วมกับการนวดจุดสะท้อนบนฝ่าเท้า ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การประเมินความ ต้องการและประสบการณ์การรับรู้ของผู้ป่วย 2) การให้ความรู้ 3) การนวดจุดสะท้อนบนฝ่าเท้า และ 4) และการประเมินผล และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความเจ็บปวด สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (Dependent t-test และ Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดของกลุ่มทดลองภายหลัง ได้รับ โปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดจุดสะท้อนบนฝ่าเท้า น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (ค่าเฉลี่ย ก่อนการทดลอง =7.20m ค่าเฉลี่ย หลังการทดลอง = 3.75, t = 16.335) 2. คะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดภายหลังเข้าร่วมการทดลองของกลุ่มทดลอง น้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (ค่าเฉลี่ย กลุ่มทดลอง = 3.75, ค่าเฉลี่ย กลุ่มควบคุม = 6.65, t =-10.627) 3. คะแนนเฉลี่ย จำนวนครั้งที่ได้รับยาระงับปวดของกลุ่มทดลอง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าเฉลี่ย กลุ่มทดลอง = 1.05, ค่าเฉลี่ย กลุ่มควบคุม = 1.85, t =-2.364)
Other Abstract: The purposes of this research were to compare effects of symptom management with reflexology program on pain and frequency pain medication taking in elderly patient with prostatectomy. The quasi-experimental design was used with pretest-posttest control groups. Sample were 40 elderly patients who received treatment at Suratthanee Hospital which were equally matched pair and assigned to experimental and control groups. The intervention instrument was the symptom management with reflexology program on pain, consisted of four sessions: 1) symptom experienced assessment 2) knowledge providing 3) reflexology and 4) evaluation phases. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test. The major finding were as follows: 1. The posttest mean score on pain of an experimental group was significantly lower than of the pretest ([Mean] [subscript pre]= 7.230, [Mean] [subscript post] = 3.75, t=16.335, p<.001) 2. The posttest mean score of pain of an experimental group was significantly lower than of a controlgroup ([Mean] [subscript experimental]= 3.75, [Mean] [subscript control]=6.65, t =-10.627, p<.001) 3. The posttest mean score of frequency pain medication taking of an experimental group was significantly lower than of a control group ([Mean] [superscript experimental]= 1.05, [Mean] [supscript control ]= 1.85, t-= -2.36, p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6772
ISBN: 9741429177
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanyakhanok_Po.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.