Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67782
Title: การเปรียบเทียบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพ
Other Titles: A comparision of human resource management of nursing departments as perceived by professional nurses, hospital participated and non participated in hospital total quality management program
Authors: ปรารถนา หมี้แสน
Advisors: บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: การบริหารงานบุคคล
การบริหารคุณภาพโดยรวม
พยาบาล
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาล 2) เปรียบเทียบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาลระหว่างโรงพยาบาลที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพ 3) เปรียบเทียบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาลหลังจากเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพเป็นระยะเวลา 1 ปี 3 ปีและ 6 ปี 4) เปรียบเทียบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาลระหว่างโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพกับโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพและโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยงด้วยวิธีของครอบบาค มีค่าความเที่ยง .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบที และสถิติทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าด้านระบบงานอยู่ในระดับมาก การศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรและความสุขสมบูรณ์และความพึงพอใจของพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง 2. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ จำแนกตามประเภทของโรงพยาบาลระหว่างโรงพยาบาลที่เข้าร่วมกับไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพโดยรวมไม่แตกต่างกันรายด้านระบบงานแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพ 1 ปี 3 ปีและ 6 ปี โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของฝ่ายการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพระหว่างโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพกับโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพและเข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this study were 1) to study level human resource management of using departments 2) to compare human resource management of nursing departments between hospital participated and non-participated of total quality management 3) to compare human resource management of nursing departments after one year, three years and six years, and 4) to compare human resource management of nursing departments between hospital total quality management program with participated in hospital quality management program and hospital accreditation program. The subjects were 400professional nurses, selected by multi-stage random sampling. The instrument was human resource management of nursing departments questionnaire. The reliability of the instrument after tested for content validity was .94. The statistics used for data analysis included the mean, standard deviation, t-test and analysis of variance. The major findings were as follows: 1. Human resource management of nursing departments as perceived by professional nurses in all aspects were at a high level. When each aspect was considered, it was found that the work system was also in the high level whereas education, training and development, and staff well being satisfaction were moderate. 2. There was no significant difference in the hospital quality management program when rated by participated and non participated in hospital quality management program. However, it was found that work systems were significantly different at the level of .05. 3. There was no significant difference in human resource management of nursing departments as perceived by professional nurses after one year, three years and six years both in all aspects as well as in each aspect. 4. There was no significant difference in human resource management of nursing departments in the hospital quality management when rated by hospital implementation of total quality management and hospital accreditation program.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67782
ISBN: 9743345531
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasdhana_me_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ893.7 kBAdobe PDFView/Open
Prasdhana_me_ch1_p.pdfบทที่ 11.18 MBAdobe PDFView/Open
Prasdhana_me_ch2_p.pdfบทที่ 23.63 MBAdobe PDFView/Open
Prasdhana_me_ch3_p.pdfบทที่ 31.02 MBAdobe PDFView/Open
Prasdhana_me_ch4_p.pdfบทที่ 4790.24 kBAdobe PDFView/Open
Prasdhana_me_ch5_p.pdfบทที่ 5984.76 kBAdobe PDFView/Open
Prasdhana_me_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.