Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68184
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พนิดา มาดาพงศ์ | - |
dc.contributor.author | นารีรัตน์ รูปงาม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-09-25T06:29:31Z | - |
dc.date.available | 2020-09-25T06:29:31Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743348557 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68184 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจ การได้รับข้อมูลป้อนกลับด้านคุณภาพบริการ การให้รางวัล วัฒนธรรมคุณภาพบริการ และคุณภาพบริการตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจ การได้รับข้อมูลป้อนกลับด้านคุณภาพบริการ การให้รางวัล วัฒนธรรม คุณภาพบริการ กับคุณภาพบริการตามการ รับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวทำนายคุณภาพบริการตามการ รับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลรัฐที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน หอผู้ป่วย จำนวน 360 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการเสริมสร้างพลังอำนาจ การได้รับข้อมูลป้อนกลับด้านคุณภาพบริการ การให้รางวัล วัฒนธรรมคุณภาพ บริการ และแบบสอบถามคุณภาพบริการ หาค่าความเที่ยง โดยวิธีของครอนบาคมีค่าความเที่ยง 84, 80, 94 89 และ 94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพด้าน การเสริมสร้างพลังอำนาจ การได้รับข้อมูลป้อนกลับด้านคุณภาพบริการ การให้รางวัล วัฒนธรรมคุณภาพบริการ และคุณภาพบริการ อยู่ในระดับสูง 2. การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ การได้รับข้อมูลป้อนกลับด้านคุณภาพบริการ การให้รางวัล วัฒนธรรมคุณภาพบริการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 (r = .372,464,460, และ 640 ตามลำดับ) 3. ตัวแปรที่ร่วมทำนายคุณภาพบริการตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ วัฒนธรรมคุณภาพบริการ การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านผลกระทบ และการได้รับข้อมูลป้อนกลับด้านคุณภาพบริการ ซึ่ง สามารถ ร่วมทำนายคุณภาพบริการตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 46.9 (R2 = 469) ได้สมการทำนายดังต่อไปนี้ คุณภาพบริการ = .533 วัฒนธรรมคุณภาพบริการ .+ 168 การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านผลกระทบ .+ 162 การได้รับข้อมูลป้อนกลับด้านคุณภาพบริการ | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this descriptive research were to explore empowerment, service quality feedback, service quality rewards, service quality culture and service quality as perceived by professional nurses, governmental hospitals participated in Hospital Accreditation Program, to determine the relationships between these variables and to determine variables which could predict service quality. The sample of 360 professional nurses in inpatient departments were selected by multi-stage technique. The research instruments were a set of questionnaires to elicit empowerment, service quality feedback, service quality rewards, service quality culture and service quality. The reliability of the questionnaires tested by Cronbach Alpha Coefficient were. 84 ,. 80 , .94 , .89 and .94 respectively. The data were analyzed to determine the mean, standard deviation, Pearson's Product Moment Correlation coefficient. Stepwise Multiple Regression Analysis was also calculated. The major findings were as follows: 1. There were a high level of empowerment, service quality feedback, service quality rewards, service quality culture and service quality as perceived by professional nurses. 2. There were significant positive relationships between empowerment, service quality feedback, service quality rewards and service quality culture with service quality as perceived by professional nurses at the .05 level (r =. 372 ,. 464 , .460 and .640 respectively). 3. Variables which could significantly predict service quality as perceived by professional nurses were service quality culture, impact and service quality feedback at the .05 level. The predictors accounted for 46.9 percent (R 2 =. 469 ) of the variances. The equation derived from the analysis was as follows: Service quality = .533 service quality cuture +. 168 impact +.162 service quality feedback. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | บริการการพยาบาล | - |
dc.subject | การมอบอำนาจหน้าที่ให้พนักงาน | - |
dc.subject | โรงพยาบาล -- การรับรองคุณภาพ | - |
dc.subject | การเสริมสร้างพลังอำนาจ | - |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจ การได้รับข้อมูลป้อนกลับด้านคุณภาพบริการ การให้รางวัล และวัฒนธรรมคุณภาพบริการ กับคุณภาพบริการ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลรัฐ ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล | - |
dc.title.alternative | Relationships between empowerment, service quality feedback, service quality rewards and service quality culture with service quality as perceived by professional nurses, governmental hospitals participated in hospital accreditation program | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การบริหารการพยาบาล | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nareerat_ro_front_p.pdf | 939.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareerat_ro_ch1_p.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareerat_ro_ch2_p.pdf | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareerat_ro_ch3_p.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareerat_ro_ch4_p.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareerat_ro_ch5_p.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nareerat_ro_back_p.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.