Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68224
Title: การเลือกตัวอย่างเชิงความน่าจะเป็นที่เป็นสัดส่วนกับขนาดโดยใช้ค่าอันดับแทนค่าวัดขนาด
Other Titles: Probability proportional to size sampling using ranks as a measure of size
Authors: อภิญญา เพ็ญพร
Advisors: มานพ วราภักดิ์
สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Subjects: การสุ่มตัวอย่าง (สถิติ)
ความน่าจะเป็น
Mean absolute percent error
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวประมาณค่ายอดรวมประชากร ภายใต้แผนการเลือกตัวอย่างเชิงความน่าจะเป็นที่เป็นสัดส่วนกับขนาด แบบไม่ใส่คืนของ Vasantha Kumar ,E. Srivenkataramana ,T. Srinath ,K.P. และแผนการเลือกตัวอย่างของ Tommy Wright กรณีที่ใช้ตัวแปร 3 ตัวแปรเป็นค่าวัดขนาดคือ ค่าตัวแปร x ที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรที่สนใจ, ค่าอันดับที่จัดเรียงตามค่าตัวแปร x และค่าอันดับที่ปรับจากเดิมเพื่อลดความแตกต่างระหว่างค่าอันดับกับค่าตัวแปร x ในเชิงปริมาณ และใช้ขนาดตัวอย่าง 2, 3, 4, 6 และ 9 จากข้อมูลที่หน่วยงานต่าง ๆได้ทำการเก็บรวบรวมไว้แล้วนำมาใช้เป็นประชากรตัวอย่างจำนวน 33 ประชากร ที่มีระดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร x และตัวแปรที่สนใจศึกษา อยู่ในช่วง 0.50-0.99 โดยพิจารณาประสิทธิภาพของตัวประมาณจากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่าเปอร์เซนต์ความ คลาดเคลื่อนสัมบูรณ์(MAPE) ในแต่ละสถานการณ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลสรุปที่ได้เป็นดังนี้ 1. แผนการเลือกตัวอย่างทั้งสามแผนมีค่าเฉลี่ยของ MAPE ของตัวประมาณค่ายอดรวมประชากรใกล้เคียงกัน กรณีที่เหมาะสมในทางปฏิบัติคือการใช้แผนการเลือกตัวอย่างของ Vasantha Kumar, E. Srivenkataramana,T, Srinath ,K.P. เนื่องจากไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการจัดหน่วยเข้าชั้นภูมิ 2. การเลือกขนาดตัวอย่าง 2 มีค่าเฉลี่ย MAPE ของตัวประมาณค่ายอดรวมประชากรสูงกว่า ขนาดตัวอย่าง 3 ประมาณ 14.18% และขนาดตัวอย่าง 3 สูงกว่าขนาดตัวอย่าง 6 ประมาณ 44.93% 3. เมื่อใช้ค่าอันดับที่จัดเรียงตามค่าตัวแปร x แทนค่าวัดขนาด จะมีค่าเฉลี่ย MAPE ของตัวประมาณค่ายอดรวมประชากรสูงกว่าการใช้ค่าตัวแปร x ประมาณ 70%-200% ของการใช้ค่าตัวแปร x ซึ่งถ้าตัวแปร x และ y มีความสัมพันธ์กัน ที่ระดับ 0.50-0.59 ค่าเฉลี่ย MAPE ของตัวประมาณค่ายอดรวมประชากรจะสูงกว่าที่ระดับ 0.90-0.99 ประมาณ 70% ในขณะที่กรณีของ การใช้ค่าอันดับที่ปรับใหม่แทนค่าวัดขนาดจะมีค่าเฉลี่ย MAPE ของตัวประมาณค่ายอดรวมประชากร สูงกว่าการใช้ค่าตัวแปร x ประมาณ 15% -100% ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของตัวแปร x และ y
Other Abstract: The purpose of this research is to compare the efficiency for population total estimators based on probability proportional to size sampling without replacement. Two sampling plans produced by Vasantha Kumar, E.,Srivenkataramana ,T. Srinath ,K.P. and by Tommy Wright are investigated and sample units are chosen from populations by using variables as a measure of size which are values of variable x, values of ranks ordered by x and values of adjusted ranks to reduce the quantity different between x and rank and sample size was 2, 3, 4, 6 and 9. The data on 33 populations obtain from several organizations of Thailand. The correlation between variable (x) which relate to y and interested variable (y) in population is in 0.50-0.99 range. The decision tool is mean absolute percent error (MAPE) at 0.05 level of significant The results are summarized as follows: 1. Means of MAPE of the population total estimator in three sampling plans are not different significant. In practice, the suitable plan is that of produced by Vasantha Kumar, E, Srivenkataramana,T, Srinath ,K.P. because it have not cost about classify unit into strata. 2. The sample size is 2 has mean of MAPE of the population total estimator is higher than size 3 about 14.18% and the sample size is 3 has mean of MAPE of total estimator more than size 6 about 44.93%. 3. In case of using ranks ordered by x as a measure of size, mean of MAPE of the population total estimator was higher than using x about 70-200% that if x correlated with y at 0.50-059 level, mean of MAPE of the population total estimator is higher than 0.90-099 level about 57%. In case of using adjusted ranks as a measure of size, mean of MAPE of the population total estimator is higher than using x about 15-100% depend on the correlations between x and y.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68224
ISBN: 9743349251
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aphinya_pe_front_p.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Aphinya_pe_ch1_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Aphinya_pe_ch2_p.pdf880.3 kBAdobe PDFView/Open
Aphinya_pe_ch3_p.pdf907.19 kBAdobe PDFView/Open
Aphinya_pe_ch4_p.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Aphinya_pe_ch5_p.pdf823.8 kBAdobe PDFView/Open
Aphinya_pe_back_p.pdf956.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.