Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68489
Title: ความสัมพันธ์ของความผันแปรในยีน SCNIA, UGT1A4 และ ABCB1 กับการตอบสนองต่อยาลาโมทริจินในผู้ป่วยโรคลมชักชาวไทย
Other Titles: Association of variants in SCN1A, UGT1A4 and ABCB1 genes with lamotrigine responsiveness in Thai epileptic patients
Authors: กรกฎ บัวเทศ
Advisors: พรพิมล กิจสนาโยธิน
โยธิน ชินวลัญช์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Pornpimol.K@Chula.ac.th
yotinc@gmail.com
Subjects: ลมบ้าหมู
ลมบ้าหมู -- การรักษา
การรักษาด้วยยา
Epilepsy
Lamotrigine
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ยาลาโมทริจินเป็นยากันชักที่เป็นยากันชักกลุ่มใหม่ที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคลมชักหลายชนิด ซึ่งพบว่าการตอบสนองต่อยามีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ป่วยโรคลมชักที่ได้รับยาลาโมทริจินอย่างเหมาะสมแล้ว ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ ก่อให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ซึ่งการตอบสนองต่อยาลาโมทริจินที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายนั้น เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางคลินิกและปัจจัยทางพันธุกรรมของผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผันแปรในยีนที่เกี่ยวข้องกับเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ของยาลาโมทริจินได้แก่ SCN1A, UGT1A4 และ ABCB1 และปัจจัยทางคลินิกต่างๆ กับการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาลาโมทริจินในผู้ป่วยโรคลมชักชาวไทย โดยผู้ป่วยโรคลมชักจำนวน 104 คนได้ถูกคัดเลือกเข้าสู่งานวิจัย โดยได้ทำการเก็บข้อมูลทางคลินิกและเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจลักษณะจีโนไทป์ของ SCN1A IVS5N+5 G>A, UGT1A4 c.142 T>G และ ABCB1 c.3435 C>T จากนั้นประเมินการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาลาโมทริจิน โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือผู้ป่วยโรคลมชักที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาลาโมทริจิน และผู้ป่วยโรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาลาโมทริจิน แล้ววิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองต่อยาลาโมทริจิน กับความผันแปรในยีน SCN1A, UGT1A4 และ ABCB1 และปัจจัยทางคลินิกต่างๆด้วย Multiple Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดเป็น symptomatic epilepsy ความถี่อัลลีลของ SCN1A IVS5N+5 G>A, UGT1A4 c.142 T>G และ ABCB1 c.3435 C>T ในผู้ป่วยโรคลมชักชาวไทย เท่ากับ 61, 25 และ 48% ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ด้วย Multiple Logistic Regression พบความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองต่อยาลาโมทริจิน กับความผันแปรทางพันธุกรรม ABCB1 c.3435 C>T และปัจจัยทางคลินิก คือ อายุที่เริ่มเป็นโรคลมชัก และการใช้ยากันชักชนิดอื่นร่วมด้วย โดยผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาลาโมทริจินนั้น สัมพันธ์กับลักษณะจีโนไทป์ของ ABCB1 c.3435 C>T แบบ CC และ CT มากกว่าผู้ป่วยโรคลมชักที่ตอบสนองต่อยาลาโมทริจิน (adjusted OR = 3.95 [95% CI: 1.05-14.48] และ adjusted OR = 8.07 [95% CI: 2.26-28.80], ตามลำดับ) โมเดลทางเภสัชพันธุศาสตร์นี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาลาโมทริจินได้ร้อยละ 40.9 (R² = 0.409) ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลชี้แนะว่าความผันแปรทางพันธุกรรม ABCB1 c.3435 C>T และปัจจัยทางคลินิก ได้แก่ อายุที่เริ่มเป็นโรคลมชัก และการใช้ยากันชักชนิดอื่นร่วมด้วย มีความสัมพันธ์กับการไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาลาโมทริจินผู้ป่วยโรคลมชักชาวไทย ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษานี้อาจสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาต่อไปเพื่อพิจารณาเลือกใช้ยาลาโมทริจินในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: Lamotrigine (LTG) is a new generation antiepileptic drug for various types of epilepsy. About 40 percent of the patients on LTG cannot achieve goal for seizure control which potentially leads to several negative consequences. Treatment response in individual patients is influenced by multiple factors including clinical factors and genetic variability. Genetic variants in genes involved in the pharmacokinetics and pharmacodynamics of LTG, may influence the drug response in patients with epilepsy. Therefore, this study aimed to investigate the association between three SNPs in SCN1A, UGT1A4 and ABCB1 genes, along with clinical factors and response to LTG treatment in Thai epileptic patients. 104 Thai patients diagnosed with epilepsy and being treated with LTG were included in the study. Two phenotypic groups were classified as LTG-responsive and LTG-resistant epilepsy. In addition to clinical data, blood samples were collected and genotyped for 3 candidate SNPs including, SCN1A IVS5N+5 G>A, UGT1A4 c.142 T>G and ABCB1 c.3435 C>T. The allele frequencies of the studied variants in Thai epileptic patients were as follows: SCN1A IVS5N+5 G>A = 61%, UGT1A4 c.142 T>G = 25% and ABCB1 c.3435 C>T = 48%. A multiple logistic regression model revealed a significant association of LTG responsiveness with ABCB1 c.3435 C>T, age at the onset of epilepsy and polytherapy. Patients with LTG resistant epilepsy were significantly more likely to have CC and CT genotypes than patients with LTG responsive epilepsy (adjusted OR = 3.95 [95% CI: 1.05-14.48] and adjusted OR = 8.07 [95% CI: 2.26-28.80], respectively). The SCN1A IVS5N+5 G>A and UGT1A4 c.142 T>G genotypes revealed no significant influence on response to LTG. In this study the pharmacogenetic model explain 40.9% of the LTG responsiveness (R² = 0.49). This study suggests that the ABCB1 c.3435 C>T polymorphism along with age at the onset of epilepsy and polytherapy may influence the response to LTG in Thai epileptic patients. This finding could lead to further study for LTG treatment optimization in individual patients, resulting in more efficacious treatment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68489
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Korakot_Buathet_p.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.