Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6906
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา จันทองจีน-
dc.contributor.authorพจนีย์ จันทมาลี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-05-15T07:47:44Z-
dc.date.available2008-05-15T07:47:44Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743465421-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6906-
dc.descriptionวิทยาศาสตร์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาศาสตร์, 2543en
dc.description.abstractแบคทีเรียสายพันธุ์ ANT1 ซึ่งคัดแยกได้จากตัวอย่างดินที่ปนเปื้อนด้วยน้ำมันเครื่อง สามารถย่อยสลายแอนทราซีนเพื่อใช้เป็นแหล่งคาร์บอนและแหล่งพลังงานได้ จากการจำแนกชนิดโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาร่วมกับผลการวิเคราะห์ลำดับเบสของ 16 เอส-ไรโบโซมัลดีเอ็น-เอ บ่งชี้ว่าจัดอยู่ในสกุล Sphingomonas และให้ชื่อว่า Sphingomonas sp. สายพันธุ์ ANT1 เชื้อแบคทีเรียนี้สามารถย่อยสลายพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนอื่นได้อีกหลายชนิด คือ ไดเบนโซฟู-แรน ฟลูออรีน แนพธาลีน ฟีแนนทรีน โดยพบการเปลี่ยนสีของอาหารเหลวที่มีสารประกอบเหล่านี้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเลี้ยงเชื้อ Sphingomonas sp. สายพันธุ์ ANT1 เพิ่มจำนวนได้สูงสุดในอาหารเหลวที่มีฟีแนนทรีน 100 มก.ต่อลิตร ทำให้ฟีแนนทรีนมีปริมาณลดลงเหลือในปริมาณที่ไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยไฮเพอร์ฟอร์มานซ์ลิควิดโครมาโตกราฟีหลังการเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ส่วนอาหารเหลวที่มีไดเบนโซฟูแรนเข้มข้น 300 มก.ต่อลิตร แบคทีเรียสายพันธุ์นี้สามารถทำให้ไดเบนโซฟู-แรนลดลงเหลือ 146.78 มก.ต่อลิตร ภายหลังการเลี้ยงเชื้อ 7 วัน ในการเลี้ยงแบคทีเรียในอาหารเหลวที่มีแอนทราซีนพบว่าแบคทีเรียนี้มีอัตราการเจริญลดลงภายหลัง 48 ชั่วโมง จาการวิเคราะห์ด้วยโครมาโตกราฟีแบบแผ่นบาง (analytical TLC) พบว่ามีการสะสมของสารมัธยันต์ปริมาณมากที่สุดในวันที่ 3 ของการเลี้ยงเชื้อ จึงได้สกัดแยกสารมัธยันต์ด้วยเอทธิลอะซีเตตและทำให้สารบริสุทธิ์ขึ้นโดยใช้โครมาโตกราฟีแบบแผ่นบางชนิดเตรียมสาร (preparative TLC) แล้วนำมาพิสูจน์เอกลักษณ์โดยการวิเคราะห์แมสสเปกตรัมและสเปกตรัมของโปรตอนเอ็นเอ็มอาร์ พบว่าสารชนิดนี้คือ กรด 2-ไฮดรอกซี-3-แนพโธอิก เมื่อทดสอบความเป็นพิษของสารมัธยันต์นี้เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรด 2-ไฮดรอกซี-3-แนพ-โธอิก พบว่าสารมาตรฐานและสารมัธยันต์ให้ผลทดสอบเช่นเดียวกันคือมีผลยับยั้งการเพิ่มจำนวนของตัวเชื้อเองและ Rhizobium sp. สายพันธุ์ CU-A1 แต่มีผลน้อยมากต่อรูปแบบการเจริญของ Sphingomonas sp. สายพันธุ์ P2 ซึ่งเป็น Sphingomonas ที่แยกได้จากแหล่งต่ากัน นอกจากนี้เมื่อเลี้ยงเชื้อในภาวะที่เติมฟลูออรีนก็ทำให้เซลที่มีชีวิตของแบคทีเรียนี้ลดจำนวนลงเช่นเดียวกัน จากการสกัดแยกสารมัธยันต์ที่เกิดขึ้นและทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีโครมาโตกราฟีแบบแผ่นบางชนิดเตรียมสารพบว่าสารมัธยันต์ที่สร้างขึ้นนี้มีผลยับยั้งการเพิ่มจำนวนของตัวเชื้อเองen
dc.description.abstractalternativeA bacterial strain ANT1 isolated from a lubricant-contaminated soil was able to utilize anthracene as as a sole carbon and energy source. The strain was classified as Sphingomonas sp. via its morphological and biochemical characteristics including 16S rDNA gene sequencing and was designated as Sphingomonas sp. ANT1. Apart from anthracene, this strain was able to degrade a wide range of PAHs including dibenzofuran, fluorene, naphthalene and phenanthrene. The maximum growth rate was obtained when grown with phenanthrene as a substrate in which rapid degradation from 100 mg/l down to ndetectable amount by HPLC analysis was observed within 24 h of cultivation. When the organism was grown in the presence of dibenzofuran at 300 mg/l, about 146 mg/l was degraded after 7 days of cultivation. After 48 h of culturing, a dead-end metabolite was formed and caused a decline in cell growth when anthracene was used as a substrate. Maximum amount of the metabolite produced by the third-day cultivation was further isolated, purified and identified by mass-spectrometry and proton nuclear magnetic resonance spectral analyses to be 2-hydroxy-3-naphthoic acid. This compound and the authentic 2-hydroxy-3-naphthoic acid were found to similarly inhibit the growth of both itself and Rhizobium sp. CU-A1 but not Sphingomonas sp. strain P2 which was isolated from another source. Formation of dead-end metabolites causing cellular decrease were also observed in the broth culture containing fluorene as a growth substrate. One major metabolite detected was isolated by preparative TLC. Inhibitory effect to the growth of itself was also demonstrated.en
dc.format.extent9183270 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการย่อยสลายทางชีวภาพen
dc.subjectแอนทราซีนen
dc.subjectโพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอนen
dc.subjectแบคทีเรียen
dc.titleความสามารถของแบคทีเรียที่คัดแยกได้ในการย่อยสลายแอนทราซีน และพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นen
dc.title.alternativeAbility of isolated bacteria in degrading of anthracene and other polycyclic aromatic hydrocarbonsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJkanchan@chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poatchanee.pdf8.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.