Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/691
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุริชัย หวันแก้ว-
dc.contributor.authorปิ่นวดี ศรีสุพรรณ, 2523--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-08T06:50:14Z-
dc.date.available2006-07-08T06:50:14Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741769792-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/691-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาแนวคิดทุนทางสังคม มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวาทกรรม "ทุนทางสังคม" ในสังคมไทยจากมุมมองสังคมวิทยาความรู้ 2) เพื่อวิพากษ์แนวคิดในฐานะที่เป็นแนวคิดการพัฒนาใหม่ของประเทศไทย 3) เพื่อวิเคราะห์กรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นวาทกรรมทุนทางสังคมในบริบทสังคมไทย โดยศึกษาแนวคิดและปฏิบัติการภายใต้บริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์บุคคลที่สนใจและ/หรือมีอิทธิพลต่อการรับแนวคิดเรื่องทุนทางสังคมทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการ รวมทั้งมีการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ผลการศึกษาโดยใช้แนวทางการวิเคราะห์วาทกรรม ผลการศึกษาพบว่า ประการที่หนึ่ง การนำศัพท์คำว่า "ทุนทางสังคม" (Social Capital) ที่ถูกนำมาใช้แตกต่างกันสืบเนื่องมาจากฐานคิดที่แตกต่างกัน โดยตัวแนวคิดเองแล้วเป็นแนวคิดที่กล่าวถึง "ความสัมพันธ์ทางสังคม" ในรูปแบบต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการร่วมมือของคนในสังคม สามารถมีความหมายทั้งในระดับปัจเจกและกลุ่ม การนำคำว่าทุนทางสังคมมาใช้ในสังคมไทยมีพลวัตของความหมายจนเปลี่ยนไปเป็น "การเป็นทุนของสังคม" ซึ่งทำให้เกิดการรวมเอาแนวคิดอื่นๆ เช่น ทุนวัฒนธรรม ทุนธรรมชาติ ทุนภูมิปัญญา มาเป็นองค์ประกอบของทุนทางสังคมด้วย โดยเห็นว่าการพัฒนาทุนทางสังคมจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประการที่สอง แนวคิดทุนทางสังคมมีฐานะเป็นแนวคิดเชิงบูรณาการที่ภายใต้การผสานแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์กับสังคมวิทยามาโต้ตอบต่อการดำเนินนโยบายการพัฒนากระแสหลักที่มุ่งเน้นในเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากเกินไป ประการที่สาม จากกรณีศึกษา เรื่องกองทุนหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล และกรณีปัญหาความขัดแย้งด้านการจัดการทรัพยากร แสดงให้เห็นข้อขัดแย้งด้านความคิดระหว่าง หน่วยงานรัฐบาล นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน และนักพัฒนา โดยหน่วยงานรัฐบาลได้ให้ความหมายของทุนทางสังคมอิงกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ฝ่ายนักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน และนักพัฒนาก็พยายามที่จะให้ความหมายของทุนทางสังคมโดยอิงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การช่วงชิงการเป็นเจ้าของวาทกรรมทุนทางสังคมทั้งแนวคิดและปฏิบัติการดังกล่าวจะพิจารณาได้ว่าเชื่อมโยงกับเรื่องผลประโยชน์และอำนาจ โดยความคิดเกี่ยวกับ "ระบบคุณค่า" และ "มูลค่า" ปรากฏในปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นอย่างค่อนข้างชัดเจนen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the thesis are 1) to describe and explain the discourse of "social capital" in Thai society from a sociological of knowledge perspective 2) to assess critically the concept as a new Thai development concept 3) to analyze some case-study in Thai development context. The methodology is qualitative method, with documentary research, key informants’ interviews and participating in related activities, and aided by discourse analysis. The results show that, firstly, the diversity of “social capital” concept in Thailand stemmed from different conceptual bases. The concept is about the social relations that highlight social cohesion and adaptively, both on group and institution level. The concept is in Thai development discourse broadened to mean the "capital of society". The last includes other concepts - cultural capital, natural capital, local wisdom capital - to be elements of social capital. Consequently, it is believed that developing social capital will bring about sustainable development. Secondly, from inter-disciplinary perspective, the concept of "social capital" is integrating both economic and sociological perspectives. This integration is a direct response to the mainstream development discourse that overly emphasis on economic growth. And thirdly, from the case-studies of Community Fund, One Tambon One Product, and conflict management on resource problems show the ideological conflicts between government, academics, local intellectual, and NGOs. The government agencies tend to give the meaning of social capital with reference to economic growth while the others tend to give stronger support for sustainable development. The contestations of social capital discourse are related to interests and power; the differences between "values" and "pricing" thus becomes evident.en
dc.format.extent1488042 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectทุนทางสังคมen
dc.titleวาทกรรมทุนทางสังคม : กระบวนการสร้างแนวคิดและปฏิบัติการในบริบทการพัฒนาของไทย (พ.ศ. 2540 - 2546)en
dc.title.alternativeThe discourse on social capital : conceptualization and practice in Thai development context (1997-2003)en
dc.typeThesisen
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSurichai.W@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinwadee.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.