Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69208
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุพิน อังสุโรจน์-
dc.contributor.authorนิศรา จีนอยู่-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-06T09:34:32Z-
dc.date.available2020-11-06T09:34:32Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741424469-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69208-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548-
dc.description.abstractการวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบจำนวนอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มของผู้ป่วยศัลยกรรมและความพึงพอใจของพยาบาลประจำการ ก่อนและหลังใช้โปรแกรมการบริหารความเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยศัลยกรรม จำนวน 871 คน และพยาบาลประจำการ จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง คือ โปรแกรมการบริหารความเสี่ยง แบบสังเกตพฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลประจำการ แบบบันทึกจำนวนอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มของผู้ป่วยศัลยกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลประจำการ เครื่องมือการวิจัยทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสังเกตพฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลประจำการ และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลประจำการ ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 และ .88 ตามลำดับ การเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มของผู้ป่วยศัลยกรรม และความพึงพอใจของพยาบาลประจำการ ครั้งที่ 1 และ 2 ห่างกัน 1 เดือนก่อนดำเนินการทดลอง หลังจากนั้นพยาบาลประจำการ 34 คน เข้ารับการฝึกอบรมเรื่องการบริหารความเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้ม โดยร่วมกันพัฒนาโปรแกรมการบริหารความเสี่ยง และนำโปรแกรมการบริหารความเสี่ยงไปใช้เป็นเวลา 1 เดือน จึงประเมินจำนวนอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มของผู้ป่วยศัลยกรรม และความพึงพอใจของพยาบาลประจำการ หลังดำเนินการทดลองครั้งที่ 3 และนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบซี และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.จำนวนอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มของผู้ป่วยศัลยกรรม หลังใช้โปรแกรมการบริหารความเสี่ยง ต่ำกว่าก่อนใช้โปรแกรมการบริหารความเสี่ยง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2.ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของพยาบาลประจำการ หลังใช้โปรแกรมการบริหารความเสี่ยง สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมการบริหารความเสี่ยง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จากผลการวิจัยแสดงว่า โปรแกรมการบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพในการทำให้อุบัติการณ์ พลัดตกหกล้มของผู้ป่วยศัลยกรรมลดลง และเพิ่มความพึงพอใจของพยาบาลประจำการ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to compare incidence of falls in surgical patients and nurses’ satisfaction before and after using risk management program. Study sample consisted of 871 surgical patients and 34 staff nurses. The instruments used were a risk management program, incidence of falls report, and nurses’ satisfaction questionnaire. All research instruments were tested for content validity by a panel of five experts and reliability. Cronbach’s alpha coefficient for nursing risk management behavior observation and nurses’ satisfaction questionnaire were .93 and .88, respectively. According to the study program, collected incidence of falls in surgical patients and the 34 staff nurses were asked to complete nurses’ satisfaction questionnaire (1 month-interval before risk management program implementation) Then, 34 staff nurses were trained in the risk management program and implementation risk management program for 1 month. After the implementation, staff nurses were asked to complete the nurses’ satisfaction questionnaire and incidence of falls in surgical patients were collected. All data were analyzed by mean, standard deviation, Z-test and t-test. Major results were as follows: 1.The incidence of falls in surgical patients after the implementation of risk management program were low than before, at the 0.5 level. 2.Mean score of nurses’ satisfaction after the implementation of risk management program were higher than before, at the 0.5 level. This result suggests that risk management program be effective to reduce incidence of falls in surgical patients and improve nurses’ satisfaction-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรงพยาบาล -- การบริหารความเสี่ยง-
dc.subjectความรับผิดสำหรับอุบัติเหตุจากการลื่นและหกล้ม-
dc.subjectศัลยกรรม -- ผู้ป่วย-
dc.subjectความพอใจ-
dc.subjectHospitals -- Risk management-
dc.subjectLiability for slip and fall accidents-
dc.subjectSurgery -- Patients-
dc.subjectSatisfaction-
dc.titleผลของโปรแกรมการบริหารความเสี่ยงต่ออุบัติการณ์พลัดตกหกล้มของผู้ป่วยศัลยกรรม และความพึงพอใจของพยาบาลประจำการ-
dc.title.alternativeEffects of risk management program on incidence of falls in surgical patients and nurses' satisfaction-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาล-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorYupin.A@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nisara_je_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ882.42 kBAdobe PDFView/Open
Nisara_je_ch1_p.pdfบทที่ 11.23 MBAdobe PDFView/Open
Nisara_je_ch2_p.pdfบทที่ 22.81 MBAdobe PDFView/Open
Nisara_je_ch3_p.pdfบทที่ 31.57 MBAdobe PDFView/Open
Nisara_je_ch4_p.pdfบทที่ 4963.49 kBAdobe PDFView/Open
Nisara_je_ch5_p.pdfบทที่ 51.11 MBAdobe PDFView/Open
Nisara_je_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.