Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69640
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นรลักขณ์ เอื้อกิจ | - |
dc.contributor.author | สุจิตรา ฟังเร็ว | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T11:46:01Z | - |
dc.date.available | 2020-11-11T11:46:01Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69640 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาล ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18-59 ปี ณ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ เพศ และระดับการศึกษา แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มการทดลองกลุ่มละ 21 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย เครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.74 แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน เครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1, 0.93 และ 0.78 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95, 0.98 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาลในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาลในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | - |
dc.description.abstractalternative | This quasi-experimental research aimed to study the effect of health program on physical activity among revisited myocardial infarction patients post percutaneous coronary intervention. The participants were myocardial infarction disease patients, both male and female, aged 18-59 years, received for percutaneous coronary intervention at Siriraj hospital, Mahidol University. The participants were assigned to the control and experimental groups (21 for each group) with matched pair technique by age, sex and education. The control group received conventional nursing care, while the experimental group received the health promoting program. Research instruments were composed of demographic information, physical activity questionnaire. The physical activity questionnaire was validated by 5 experts with the content validity indexes of 0.92, the internal consistency reliability of this instruments were 0.74. The perceived benefits, perceived barrier and perceived self-efficacy questionnaire were validated by 5 experts with the content validity indexes of 1, 0.93 and 0.78, respectively. The internal consistency reliability of these instruments were 0.95, 0.98 and 0.85, respectively. Descriptive statistics and t-test were used to analyze the data. The result revealed as the followings. 1. The mean score of physical activity after receiving the health promoting Program was significantly higher than that before receiving the program at the significant level a .05. 2. The mean score of physical activity after receiving the health promoting Program in experimental group was significantly higher than that in the control group at the significant level a .05 | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1007 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค | - |
dc.subject | หัวใจ -- หลอดเลือด | - |
dc.subject | Coronary heart disease | - |
dc.subject | Heart -- Bolld-vessels | - |
dc.title | ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาล | - |
dc.title.alternative | The effect of health promoting program on physical activity among revisited myocardial infarction patients post percutaneous coronary intervention | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.1007 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6077315136.pdf | 9.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.