Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69645
Title: ประสบการณ์ทางจิตใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของผู้รับบริการ
Other Titles: Psychological experiences on counseling engagement of clients
Authors: ณฐวรรณ เปาอินทร์
Advisors: พนิตา เสือวรรณศรี
ณัฐสุดา เต้พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของผู้รับบริการ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมวิจัยคือผู้ที่เคยมีประสบการณ์การเข้ารับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบเจอตัวและเกิดการเปลี่ยนแปลงทางบวกจากประสบการณ์การเข้ารับบริการ จำนวน 6 ราย โดยมีอายุระหว่าง 26-37 ปี ผลการวิจัยสามารถแบ่งได้ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่การปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประกอบด้วย ความไม่สามารถจัดการปัญหาด้วยตนเอง ความเชื่อมั่นในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (การสนับสนุนจากคนรอบข้าง ทัศนคติทางบวกต่อการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ และความเหมาะสมของนักจิตวิทยาการปรึกษา) และความพร้อมเปิดเผยตนเอง 2) การถ่ายทอดประสบการณ์ภายในได้อย่างเต็มที่ ประกอบด้วย ความไว้วางใจว่าความลับจะไม่ถูกเปิดเผย ความใกล้ชิดทางใจ การได้รับการยอมรับ และขอบเขตสัมพันธภาพที่เหมาะสม และ 3) การทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย การคิดพิจารณาปัญหาร่วมกับนักจิตวิทยาการปรึกษา ความรับผิดชอบในการเปลี่ยนตนเอง และการลองเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยผู้วิจัยได้อภิปรายผลการวิจัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว การวิจัยนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ทางจิตใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของผู้รับบริการเพิ่มขึ้น โดยผู้รับบริการสามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนาการมีส่วนร่วมของตน ในขณะที่นักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนาการให้บริการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ
Other Abstract: This qualitative research aimed to explore the psychological experiences on counseling engagement of clients, using Interpretative Phenomenological Analysis (IPA). Participants were six clients, aged between 26 and 37 years old, who had completed face-to-face individual counseling and had changed positively as the result. Data were collected via semi-structured in-depth interviews. The study resulted in the three main themes which were 1) Determination to attend counseling, consisting of inability to solve problems by oneself, trust in counseling (encouragement from others, positive attitude towards seeking professional help, and the suitability of counseling), and readiness to disclose. 2) Freely disclosing internal experiences, consisting of trust in confidentiality, psychological closeness, acceptance, and appropriate boundary. 3) Working towards change, consisting of problem exploration with the counselor, responsibility to change, and behavior test in daily life. The relevant findings were discussed. The research provides better understandings of clients’ counseling engagement. Clients may use the research findings to increase their counseling engagement, while counselors may use the research findings to encourage counseling engagement of their clients.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69645
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.760
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.760
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5977608638.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.