Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69992
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา สรายุทธพิทักษ์-
dc.contributor.authorยอดแก้ว แก้วมหิงสา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:34:13Z-
dc.date.available2020-11-11T13:34:13Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69992-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการรับใช้สังคมและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการรับใช้สังคมและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย การพัฒนารูปแบบดำเนินการโดยศึกษาแนวคิดการรับใช้สังคมและการสะท้อนคิดรวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและครู นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฉบับร่าง และตรวจสอบคุณภาพรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ การประเมินประสิทธิผลรูปแบบดำเนินการโดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มในโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์  เป็นเวลา 8  สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05             ผลการวิจัยพบว่า            1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 6 ขั้น คือ 1) การกระตุ้นความสนใจปัญหาความต้องการในสังคม 2) การสร้างความตระหนักในการช่วยเหลือผู้อื่น 3) การศึกษาสภาพและปัญหาของชุมชน 4) การวางแผนปฏิบัติการ 5) การปฏิบัติกิจกรรมการรับใช้สังคม และ 6) การสะท้อนความคิด             2) ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษา 2.1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางสังคมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างนัยมีสำคัญทางสถิติ .05 และ 2.2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางสังคมหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างนัยมีสำคัญทางสถิติ .05-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to 1) develop a health education learning management model based on the concept of social service and reflection to develop social intelligence of high school students. 2) To evaluate the effectiveness of the conceptual health education learning management model. Social service and reflection for the development of social intelligence of high school students. The development of the model is carried out by studying the concepts of social service and reflection, as well as information on problems and needs of learners and teachers. The data were analyzed and synthesized as a draft learning management model. And check the model quality from a qualified person The model effectiveness evaluation was conducted with two groups of students at Benjamarachanusorn School for 8 weeks. Standard deviation and t-test at the statistical significance level of .05.            The research results were found that: 1) The developed health education learning management model consisted of 6 teaching steps: 1) stimulating interest in problems and needs in society 2) raising awareness in helping others 3) education of the state and problem of Community, 4) action planning, 5) practice of social service activities, and 6) reflection. 2) The effectiveness results of the health education learning management model evaluation: 2.1) the experiment group had the average of the social intelligence after the experiment higher than before by statistical significance 0.5.2.2) the experiment group had the average of the social intelligence after the experiment higher than the control group by statistical significance 0.05.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1433-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการรับใช้สังคมและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -
dc.title.alternativeDevelopment of a health education instructional model base on service learning approach and reflection thinking to improve social intelligence of upper secondary school students-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineสุขศึกษาและพลศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษา-
dc.subject.keywordการรับใช้สังคม-
dc.subject.keywordการสะท้อนคิด-
dc.subject.keywordความฉลาดทางสังคม-
dc.subject.keywordHEALTH EDUCATION INSTRUCTIONAL MODEL-
dc.subject.keywordSERVICE LEARNING-
dc.subject.keywordREFLECTIVE THINKING-
dc.subject.keywordSOCIAL INTELLIGENCE-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1433-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984219227.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.