Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70015
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประกอบ กรณีกิจ-
dc.contributor.authorนลิน คำแน่น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:34:36Z-
dc.date.available2020-11-11T13:34:36Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70015-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนฯ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษาและเกมิฟิเคชัน และผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดเชิงคำนวณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบฯ เว็บการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบการคิดเชิงคำนวณ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) เป้าหมายการเรียน 4) เกมิฟิเคชัน 5) แหล่งเรียนรู้และเครื่องมือ และ 6) การวัดและประเมินผล โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดปัญหา 2) การทำความเข้าใจปัญหา 3) การดำเนินการค้นคว้าข้อมูล 4) การวางแผนและร่างแบบจำลอง 5) การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม และ 6) การนำเสนอผลงานและสะท้อนผล ผลการทดลองการใช้รูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า คะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงคำนวณก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to 1) to develop flipped learning with problem-based learning and gamifications to enhance computational thinking and achievement motivation of upper secondary school students, 2) to try out and 3) to propose a model. The subjects in model development consisted experts including educational technology experts, psychology and gamification experts and computational thinking experts. The subjects in model experiment were 40 students from the upper secondary school students. The research instruments consisted of an expert interview form, a model evaluation form, learning website and a lesson plan. The data collection instruments comprised: a computational thinking test, an achievement motivation test, and student’s satisfaction towards the model test questionnaire. The data were analyzed by using mean, standard deviation and t-test. The research results were as follows: The developed model consisted of six components including: (1) Teacher, (2) Student, (3) Goals, (4) Gamification, (5) Learning resources, and (6) Evaluation. Steps of flipped learning with problem-based learning and gamifications consisted of six steps as follows: (1) Presentation of the problem, (2) Understanding the problem, (3) Data research, (4) Planning and drafting of models, (5) Design and development of programs and (6) presentation and reflect. The experimental result indicated that the subjects had computational thinking post-test mean scores higher than pre-test at .05 level of significance and achievement motivation post-test mean scores higher than pre-test at .05 level of significance.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.601-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย-
dc.title.alternativeDevelopment of a flipped learning model with problem-based learning and gamifications to enhance computational thinking and achievement motivation of upper secondary school students-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordการเรียนกลับด้าน-
dc.subject.keywordการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน-
dc.subject.keywordเกมิฟิเคชัน-
dc.subject.keywordการคิดเชิงคำนวณ-
dc.subject.keywordแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.601-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6083819027.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.