Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70020
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ-
dc.contributor.authorวรัญญู ฉายาบรรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:34:41Z-
dc.date.available2020-11-11T13:34:41Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70020-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับเป็นสมรรถนะของครูที่สนับสนุนคุณลักษณะของนักเรียนไปสู่เป้าหมายทางการศึกษา การวิจัยนี้มี 3 ระยะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูในมุมมองครูและมุมมองนักเรียน (2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครู ทั้งเครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐาน และมาตรประมาณค่า และ (3) วิเคราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูจากเครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐานและมาตรประมาณค่า ทั้งนี้ระยะแรกเป็นขั้นการวิเคราะห์สภาพการสังเกตนักเรียนในชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูในมุมมองครูและมุมมองนักเรียน ผู้ให้ข้อมูลเป็นครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาจำนวน 36 คน เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่สองเป็นการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครู โดยเครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐานประกอบด้วยชุดคำถามสำหรับแอนิเมชัน 3 วิดีโอ ตรวจสอบคุณภาพในด้านความสมจริง ความตรงเฉพาะหน้า และความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินโดยใช้สถิติแคปปา ส่วนมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ผ่านการตรวจสอบในด้านความตรงเฉพาะหน้า ความตรงเชิงเนื้อหาด้วยดัชนี IOC ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และความเที่ยงเชิงความสอดคล้องภายในด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟา ระยะที่สาม วิเคราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูประถมศึกษาจำนวน 47 คน ที่ตอบเครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐานและมาตรประมาณค่า ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิมและการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงแก่นสาระด้วยโปรแกรม MAXQDA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะของพฤติกรรมที่ครูสังเกตชั้นเรียน มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) การสังเกตชั้นเรียนด้านความรู้ ประกอบด้วย การรู้ชัดและการรู้ไม่จริง 2) การสังเกตชั้นเรียนด้านความรู้สึก ประกอบด้วย อารมณ์ทางบวกและอารมณ์ทางลบ และ 3) การสังเกตชั้นเรียนด้านพฤติกรรม ประกอบด้วย พฤติกรรมที่สนับสนุนการเรียนการสอนและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และวิธีการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ครูใช้ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) การให้ข้อมูลป้อนกลับทั่วไป 2) การให้ข้อมูลป้อนกลับทางบวก และ 3) การให้ข้อมูลป้อนกลับทางลบ 2. เครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐานที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยแอนิเมชัน 3 วิดีโอ ซึ่งออกแบบคำถามเป็นปลายเปิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนที่ให้ครูสังเกตและเสนอข้อมูลป้อนกลับ รวมทั้งให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสมจริงของสถานการณ์ในวิดีโออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มีความตรงเฉพาะหน้า และมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินด้วยสถิติแคปปาอยู่ในช่วง .607 - .866 ส่วนมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 26 ข้อ มีความตรงเฉพาะหน้า ส่วนความตรงเชิงเนื้อหาด้วยดัชนี IOC มีค่า .670 – 1 ขณะที่ผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันบ่งชี้ว่ามีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยโมเดลการวัดการสังเกตชั้นเรียนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( X2 (14, N = 47) = 13.650,  p = .476, CFI = 1.00, RMSEA < .001, SRMR = .020) และโมเดลการวัดการให้ข้อมูลป้อนกลับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( X2 (1, N = 47) = 0.903,  p = .342, CFI = 1.00, RMSEA < .001, SRMR = .012) นอกจากนี้มีความเที่ยงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ในช่วง .655 – .907 3. ผลการวิเคราะห์รูปแบบโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบปกติและการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงแก่นสาระด้วยโปรแกรม MAXQDA ให้ผลที่สอดคล้องกัน โดยการใช้เครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐานบ่งชี้ว่าครูมีรูปแบบการสังเกตชั้นเรียนในด้านเทคนิคการสอนมากที่สุด และด้านความรู้ของนักเรียนน้อยที่สุด นอกจากนี้ครูมีรูปแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับในด้านการชี้ประเด็นได้ตรงจุดมากที่สุด และด้านการมีความหมายน้อยที่สุด ขณะที่การใช้เครื่องมือมาตรประมาณค่าบ่งชี้ว่าครูมีรูปแบบการสังเกตชั้นเรียนในทุกด้านดีมาก และครูมีรูปแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับในด้านทุกด้านดีมาก ยกเว้นด้านการมีความหมาย เมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์รูปแบบและความคุ้มค่าจากการใช้เครื่องมือทั้งสองได้ข้อสรุปว่า ควรใช้เครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐานในการประเมินการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับมากกว่าการใช้มาตรประมาณค่า-
dc.description.abstractalternativeTeachers’ classroom noticing and giving feedback competencies facilitate students’ attributes to successfully achieve their educational goals. The present 3-phase research aimed to: 1) analyze classroom noticing and giving feedback in both teachers’ and students’ perspectives, 2) develop and examine the quality of the tool used to evaluate classroom noticing and teachers’ feedback including the video-based instrument and the rating scale, and 3) analyze and compare classroom noticing and feedback patterns by using the video-based instrument and the rating scale. The first phase involved analyzing classroom noticing and giving feedbacks in both teachers’ and students’ perspectives. The data were collected from 36 primary school teachers, by means of interviews, and analyzed by a content analysis. The second phase involved developing and examining research instruments used in classroom noticing and giving feedback employing video-based instrument consisting of questions for 3 animated videos, examining authenticity, face validity, and inter-rater reliability using Kappa statistics. The 5-point rating scale was examined in terms of face validity, content validity using IOC, construct validity using confirmatory factor analysis (CFA), and internal consistency reliability by the alpha coefficient. The third phase was analyzing and comparing classroom noticing and teachers’ feedback using the video-based instrument and the rating scale. The data collected from 47 primary school teachers were then analyzed by classical content and thematic content analyses with MAXQDA. The main results can be summarized as follows: 1. There were 3 domains of teachers’ noticing. First, the cognitive domain consisting of accurate understanding and misunderstanding. Second, the affective domain consisting of positive and negative emotions. Third, the behavioral domain consisting of facilitating and discouraging behaviors. In terms of giving feedback, teachers’ feedback methods could be divided into 3 categories, including general, positive, and negative feedbacks. 2. The developed video-based instrument consisted of 3 animated videos. Specially, designed for the teachers notice misbehaviors and give their feedback through open-ended questions. Experts rated the instrument’s authenticity as acceptable. It had face validity and inter-rater reliability by Kappa statistics ranging between .607 - .866. Also, the 5-point rating scale consisting of 26 items had acceptable levels of face validity. The content validity of this instrument was high with IOCs ranging between .670 - 1. The results of CFA suggested that the construct validity of the instrument was satisfied. In fact, the measurement models of classroom noticing and giving feedback fit very well with empirical data (X2(14, N = 47) = 13.650,  p = .476, CFI = 1.00, RMSEA < .001, SRMR = .020; and X2 (1, N = 47) = 0.903,  p = .342, CFI = 1.00, RMSEA < .001, SRMR = .012, respectively). Moreover, internal consistency reliability by Alpha coefficients ranging between .655 – .907. 3. The results from classical content analysis and thematic content analysis with MAXQDA are congruent. The usage of the video-based instrument indicated that teachers paid the most attention to the teaching techniques and the least attention to students’ knowledge during classroom noticing. Moreover, the teachers were most likely to identify issues and least likely to define meanings while giving feedback. Meanwhile, the rating scale indicated that the teachers’ classroom noticing was excellent in all aspects and teachers gave excellent feedback in all areas except for defining meanings. The comparison between the two instruments in terms of pattern results and worthiness indicated that the video-based instrument should be evaluated classroom noticing and giving feedback appropriately rather than the rating scale.  -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1178-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการพัฒนาเครื่องมือประเมินการสังเกตชั้นเรียนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของครู โดยใช้เครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐาน-
dc.title.alternativeDevelopment of teachers’ classroom noticing and giving feedback assessment tools using video-based instrument-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordการสังเกตชั้นเรียน-
dc.subject.keywordการให้ข้อมูลป้อนกลับ-
dc.subject.keywordเครื่องมือที่มีวิดีโอเป็นฐาน-
dc.subject.keywordแอนิเมชัน-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1178-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084218027.pdf8.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.