Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70049
Title: ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีการดูแลตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Effects of motorcycle driving safety enhancement program using self–efficacy and self–care theories of lower secondary school students
Authors: อภิวัฒน์ กุมภิโร
Advisors: จินตนา สรายุทธพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม และ เปรียบเทียบผลของโปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2–3 จำนวน 36 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยการนำทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและทฤษฎีการดูแลตนเองมาเป็นหลัก จำนวน 5 กิจกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 1.00 และแบบวัดความรู้ ความตระหนัก และ การปฏิบัติ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.89, 0.96 และ 1.00 มีค่าความเที่ยง 0.80, 0.82 และ 0.86 ตามลำดับ มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า   1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ความตระหนัก หลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ทว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติในการขับขี่รถจักรยานยนต์สูงขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ความตระหนัก และการปฏิบัติในการขับขี่รถจักรยานยนต์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: Purpose to study the effect of the motorcycle safety enhancement program using self–efficacy and self-care theories of lower secondary school student before and after participate program, and compare the results of the motorcycle safety enhancing program using self–efficacy and self-care theories of lower secondary school student after the experiment of the experimental group and the control group. Method: The subject consisted of 36 students in Mattayom 2-3, selected by simple random sampling. The research instruments were comprised of 5 activities which were based on the self-efficacy theory and self-care theory with IOC of 1.00 and the data collection instruments included of tests in the area of knowledge, awareness and driving behavior with IOC of 0.89, 0.96 and 1.00, reliabilities of 0.80, 0.82 and 0.86. The duration of the experiment was 8 weeks. The data were analyzed by mean, standard deviation and t–test. The research finding were as follows: 1) The average of students’ knowledge and awareness score after intervention were significantly higher than before the experiment, but students’ driving behavior score were increased but not statistically significant 2) The average score of students’ knowledge, awareness and driving behavior score of the experimental group after intervention were significantly higher score than the control group at 0.5 level
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70049
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1435
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1435
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183905427.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.