Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70397
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Factors affecting on policy implementation of bioeconomy : a case study on Ubonratchathani province
Authors: พิชญา วิทูรกิจจา
Advisors: วันชัย มีชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Wanchai.Me@Chula.ac.th
Subjects: นโยบายเศรษฐกิจ
เศรษฐศาสตร์ชีวภาพ -- ไทย -- อุบลราชธานี
Economic policy
Bioeconomy -- Thailand -- Ubonratchathani
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบาย ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติของจังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาพบว่า การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผลจากการดำเนินการตามโรดแมปด้านการส่งเสริมพลังงานทดแทนของภาครัฐ และมีมันสำปะหลังอินทรีย์เป็นพืชนำร่องของโครงการ ซึ่งรูปแบบการดำเนินนโยบายอยู่ในลักษณะการควบรวมและต่อยอดกับโครงการเดิมในพื้นที่คือ โครงการพัฒนาการส่งเสริมการเกษตรการปลูกมันสำปะหลัง หรือ โครงการอุบลโมเดล โดยการขับเคลื่อนนโยบายจะอาศัยความร่วมมือจากเกษตรกร ภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติ แบ่งเป็นปัจจัยด้านเนื้อหาสาระของนโยบาย 2 ปัจจัย ได้แก่ ความไม่เป็นเหตุเป็นผลของนโยบาย และ นโยบายเป็นผลจากการควบรวมและต่อยอดโครงการเดิมในพื้นที่ ส่วนปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของนโยบาย แบ่งเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ สมรรถนะของหน่วยงาน การสนับสนุนจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และทัศนคติและวิถีชีวิตของเกษตรกร ในขณะที่ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นมีส่วนเชื่อมโยงต่อปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบาย ได้แก่ ปัญหาการสื่อสารและประสานงานจากหน่วยงานระดับบนไปยังระดับล่างไม่เพียงพอ ปัญหาผู้ปฏิบัติงานทำงานในรูปแบบเดิมที่เคยปฏิบัติมาก่อน และปัญหางบประมาณและปัจจัยสนับสนุนไม่เพียงพอ
Other Abstract: This research aims to study and analyze the policy implementation of bioeconomy in Ubon Ratchathani province, including possible factors and problems that effect to such movement. This paper argues that, firstly, the movement of bioeconomy is a result of implementing roadmap project of empowering renewable energy by state and organic cassava which is the first step of the project. The movement process merge into previous project in the local which is the development project by support to plant cassava or Ubon model associated with cooperating local farmer, state and private sectors.  Secondly, the factors that effects the bioeconomy movement to operation can be divided in to two substantive factors that are 1) the irrational policy and 2) the redundant policy. For environmental factors can be divided into 3 factors. 1) the capacity of related departments 2) Support from related stakeholders. 3) Farmer’s attitudes and ways of life. Thirdly, the problems directly link to effected factors in the movement. For example, communicating and cooperating problems is less effective. Some agent act mistakenly to the project’s object. The budget isn’t responsive to demand enough.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70397
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1070
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1070
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6080617024.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.