Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71230
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราจีน วีรกุล-
dc.contributor.advisorพีระศักดิ์ จันทร์ประทีป-
dc.contributor.advisorชัยณรงค์ โลหชิต-
dc.contributor.authorวีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-12-03T08:43:51Z-
dc.date.available2020-12-03T08:43:51Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743465286-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71230-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรยบเทียบประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของแม่โคนมโดยการใช้โปรแกรมการเหนี่ยวนำการเป็นสัดและตกไข่พร้อมกันในโค แม่โคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเซียนที่มีระยะหสังคลอด 40-70 วันและมีวันคลอดใกล้เคียงกันจำนวน 60 ตัวถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุม (n=30) โคจะได้รับวิธีการจัดการผสมพันธุ์ตามปกติโดยตรวจการเป็นสัดและผสมเทียมตามกฎเช้า-บ่าย โคในกลุ่มทดลอง (n=30) จะได้รับการฉีดจีเอ็นอาร์เอช 100 ไมโครกรัมเข้ากล้ามเนื้อและ 7 วันต่อมาจะได้รับการฉีดพรอสตาแกลนดิน 500 ไมโครกรัม หลังจากนั้น 48 ชั่วโมง ฉีดจีเอ็นอาร์เอช ครั้งที่ 2 จำนวน 100 ไมโครกรัมและผสมเทียมที่ 16-18 ชั่วโมงต่อมาแต่ละครั้งที่ฉีดฮอร์โมนโคจะได้รับการเจาะเลือดเพี่อนำซีรั่มมาตรวจระดับโปรเจสเตอโรนด้วยวิธี RIA ผลการศึกษาพบว่าอัตราการตั้งท้องหลังจากผสมครั้งแรกภายใน 90 วันมีค่าไม่แตกต่างกันโดยกลุ่มทดลองมีค่า 30.0% และกลุ่มควบคุมมีค่า 13.3% อัตราการตั้งท้องภายใน 90 วันหลังคลอดในกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่าควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (40.0% เปรียบเทียบกับ 16.7% ; p<0.05) กลุ่มทดลองมีระยะคลอดถึงผสมครั้งแรกตํ่ากว่ากลุ่มควบคุม (63.8 ± 2.18 วัน เปรียบเทียบกับ 81.4 ± 5.72 วัน) ระยะคลอดถึงผสมติดจากการผสมครั้งแรกในกลุ่มทดลองมีแนวโน้มตํ่ากว่ากลุ่มควบคุม (61.33 ± 3.95 เปรียบเทียบกับ 78.29 ± 9.87 วัน) อัตราผสมติดจากการผสมครั้งแรกไม่มีความแตกต่างกันโดยมีค่า 30.0% ในกลุ่มทดลองและมีค่า 20% ในกลุ่มควบคุม จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของระดับโปรเจสเตอโรน พบว่าระดับโปรเจสเตอโรนมีความสัมพันธ์กับการตั้งท้อง สรุปผลการศึกษาในครั้งนี้การใช้โปรแกรมการเหนี่ยวนำการเป็นสัดและตกไข่พร้อมกันในโคนมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในโคนมช่วงหลังคลอดภายใน 90 วันเนื่องจากสามารถเพิ่มอัตราการได้รับการผสม เพิ่มอัตราการตั้งท้องภายใน 90 วันหลังคลอดและลดระยะคลอดถึงผสมครั้งแรกได้-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to determine the reproductive efficiency of lactating dairy cows by using synchronized ovulation program (Ovsynch). Multiparous crossbred Holstein Friesian cows (40-70 d postpartum ; n=60) were divided into control group (n=30) and Ovsynch group (n=30), according to their calving date. Cows in the control group were Al according to the AM.-PM. rule following detected standing estrus. Cows treated Ovsynch were injected with 100 µg GnRH (Buserelin ; Receptal® ) at random stage of estrus on the first day of program. Seven days later, cows in this group received 500 µg PGF2a(Cloporstenol ; EstroPLAN ® ), followed by a second injection of 100 µg GnRH 48 h later. Al was carried out at 16-18 h after the second GnRH injection. Blood was collected from Ovsynch cows at each hormone injection. Serum was evaluated for progesterone concentration by using RIA. First pregnancy rate by 90 d postpartum were not different (30.0% vs. 13.3% for the Ovsynch cows and control cows respectively). Overall pregnancy rate by 90 d postpartum were higher in Ovsynch cows than control cows (40.0% vs. 16.7% ; p<0.05). Calving to first Al were shorter in Ovsynch group than control (63.8±2.18 vs. 81.4±5.72 d). Calving to conception from the first Al tended to be shorter than for Ovsynch cows than control (61.33±3.95 vs. 78.29±9.87 d). Conception rate at first service were similar for Ovsynch (30.0%) and control (20%). Evaluation of serum progesterone concentration profile indicated that the progesterone level was associated to the outcome of pregnancy. In conclusion, Ovsynch program can improve reproductive efficiency by increasing estrus submission rate, overall pregnancy rate within 90 days postpartum and reducing days to first service.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโคนม -- การสืบพันธุ์-
dc.subjectการเป็นสัด-
dc.subjectการตกไข่-
dc.titleการเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์โดยการใช้โปรแกรมเหนี่ยวนำ การเป็นสัดและตกไข่พร้อมกันในโคนม-
dc.title.alternativeImproving reproductive efficiency by using synchronization ovulation program in dairy cows-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Veerasak_pu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ812.46 kBAdobe PDFView/Open
Veerasak_pu_ch1_p.pdfบทที่ 1671.15 kBAdobe PDFView/Open
Veerasak_pu_ch2_p.pdfบทที่ 21.37 MBAdobe PDFView/Open
Veerasak_pu_ch3_p.pdfบทที่ 3722.96 kBAdobe PDFView/Open
Veerasak_pu_ch4_p.pdfบทที่ 41.09 MBAdobe PDFView/Open
Veerasak_pu_ch5_p.pdfบทที่ 5601.96 kBAdobe PDFView/Open
Veerasak_pu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก760.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.