Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7130
Title: การแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง : กรณีศึกษารำตงบ้านใหม่พัฒนา อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: The Karen folk dance : a case study of Ramtong dance performance in Banmaipattana village Sangkglaburi district, Kanchanaburi province
Authors: ณัฐกานต์ บุญศิริ
Advisors: มาลินี อาชายุทธการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Malinee.A@Chula.ac.th
Subjects: การรำ -- ไทย -- สังขละบุรี (กาญจนบุรี)
กะเหรี่ยง -- ไทย -- สังขละบุรี (กาญจนบุรี)
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยงโปว์ ป้านใหม่พัฒนา อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2547-2548 มุ่งศึกษาถึงความเป็นมา องค์ประกอบ รวมถึงลักษณะท่ารำอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของการแสดงรำตง โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการ การสัมภาษณ์ครูฝึก นักแสดง และผู้ที่ศึกษางานด้านการแสดงของชาวกะเหรี่ยง สังเกตการณ์การแสดงรำตง 5 ครั้งและการฝึกปฏิบัติการรำด้วยตนเอง ผลจากการวิจัยพบว่า รำตงเป็นชื่อการแสดงที่มาจากเสียงกระทบของไม้ไผ่ดังโตว์ โตว์ การแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านใหม่พัฒนาปัจจุบันเหลืออยู่ 5 ชุด คือ รำตงอะบละ รำตงไอ่โพ่ รำตงไอ่มิ รำตงหม่องโยว์ที่เป็นการแสดงของเด็ก และตำรงหม่องโยว์ที่เป็นการแสดงของผู้ใหญ่ รำตงเป็นการแสดงที่มีการรำประกอบการร้องเพลงกะเหรี่ยงโดยมีเครื่องกำกับจังหวะเฉพาะคือ ว่าเหล่เคาะและกลองตะโพน รำตงสันนิษฐานว่าน่าจะมีการสืบทอดมานานกว่า 200 ปี ที่มาของการแสดงสันนิษฐานว่ามี 2 ประการ คือ 1) มาจากพิธีกรรม 2) พัฒนามาจากการเล่านิทาน วัตถุประสงค์ในการแสดงมี 3 ลักษณะ คือ 1) เพื่อประกอบพิธีกรรม 2) เพื่อความบันเทิง 3) เพื่อการสาธิต ในอดีตนิยมแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับพุทธประวัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมามีการนำคติความเชื่อในกลุ่มชาวกะเหรี่ยงมาสอดแทรกกับการแสดง มีการเล่าเรื่องราวกลุ่มชนตลอดจนเรื่องราวของความรักของหนุ่นสาว รำตงมักแสดงในบริวณที่เป็นลานกว้าง ผู้แสดงมีทั้งชายและหญิงจำนวนไม่น้อยกว่า 12 คน การแต่งกายของผู้แสดงจะแต่งกายด้วยชุดประจำชนเผ่า อุปกรณ์ประกอบการแสดงคือ ผ้าเช็ดหน้าสีขาว ดอกไม้ และคบไฟ บทร้องเป็นภาษากะเหรี่ยงและภาษาพม่า ลักษณะของการแสดงรำตงพบว่าโครงสร้างหลักในการแสดงมี 3 ขั้นตอน คือ 1) ท่าเตรียม 2) การำเพลงไหว้ครู 3) การรำเข้าเพลง การปฏิบัติท่ารำเน้นการรำให้สอดคล้องถูกต้องกับจังหวะของบทเพลง และเน้นความพร้อมเพรียง ลักษณะท่ารำมี 5 ลักษณะคือ 1) ท่ารำหลักที่สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากท่ารำเดิม 2) ท่ารำที่เลียนแบบจากธรรมชาติ 3) ท่ารำที่ได้มาจากการดัดแปลงท่ารำอื่น 4) ท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ 5) ท่ารำที่มาจากท่ารำพื้นฐาน ท่ารำเอกลักษณ์ ได้แก่ การม้วนและสะบัดมือตั้งวงโดยเป็นการวาดแขนพร้อมกับใช้ฝ่ามือวาดเป็นวงกว้าง ก่อนที่จะมีการหักข้อมือและกดนิ้วกลางเข้าหานิ้วหัวแม่มือเพียงเล็กน้อย โดยนิ้วไม่จรดกันแล้วสะบัดข้อมือตั้งวง ท่ารำหลัก ได้แก่ ท่าเหวี่ยงมือ ท่าสะบัดมือตั้งวง ท่าม้วนมือ ท่าปรบมือ และการย่ำเท้า นอกจากนี้ยังพบว่าการนั่งที่เป็นลักษณะเด่นของการแสดงทั้งหมดคือ การนั่งยองๆ ลักษณะการรำที่เป็นลักษณะเด่นชี้เฉพาะมี 1 กระบวนท่า คือ กระบวนท่าม้วนสะบัดข้อมือตั้งวงและปรบมือ โครงสร้างหลักของกระบวนการรำปรากฏในกระบวนท่ายืนทั้งหมดเริ่มต้นด้วยการรำในกระบวนท่าม้วนและสะบัดข้อมือตั้งวงจากนั้นจึงเป็นการรำในกระบวนท่าเฉพาะและในตอนท้ายของจังหวะจบด้วยกระบวนท่ารำปรบมือ งานวิจัยฉบับนี้จะช่วยชี้ให้เห็นถึงวิวัฒนาการด้านหนึ่งของวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านซึ่งอาจจะเป็นแนวทางในการศึกษาเปรียบเทียบการแสดงของชนกลุ่มน้อยอื่นๆและการเปรียบเทียบลักษณะการแสดงของชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
Other Abstract: To study the Ramtong dance performance of the Pow Karen in Banmaipattana Village, Sangkhlaburi District, Kanchanaburi Province during 2004-2005. The focus is on the background, composition and dance postures which are characteristics of the Ramtong dance performance. The information is compiled from academic documents, interviews with dance teachers, performers, those who conduct studies on performances of the Karen, five observations of performances and the researcher's practice of the dance. The result of the study reveals that at present, the Pow Karen in Banmaipattana Village have only five types of the Ramtong dance performance left -- Ramtong Abla, Ramtong Aipho, Ramtong Aimi, Ramtong Mong Yow by children and Ramtong Mong Yow by adults. The Ramtong dance performance is accompanied by Karen songs and the rhythms are controlled by specific musical instrument -- the Walei and the Tapone or a two-faced drum. It is assumed that the dance has been performed for over 200 years and its origin is presumed to be from two sources 1) from religious rites, 2) from story narration. The purposes of the performance are for 1) Organizing religious rites, 2) Entertaining, 3) Demonstrating. In the past, it was popular for the performance to present the episodes in the Lord Buddha's life. Later, the performance was added with the beliefs of the Karen, stories of the Karen group and the romance of young men and women. The Ramtong dance performance takes place in a large open space. Performers consists of at least 12 men and women. The attire is that of the traditional costume of the tribe. Props are white handkerchiefs, flowers and fire. The words in the songs are in Karen and Burmese languages. In terms of dance characteristics, it is found that the major structure of the performance consists of three levels 1. Preparation posture, 2. Invocation dance to the dance master 3. The dance accompanied by the music. The dance performance emphasizes the dance that is in harmony with the rhythms of the music and the unison movement of the performers. Dance postures consist of five postures 1. Dance postures assumed to originate from tradition postures, 2. Dance postures in imitation of nature, 3. Dance postures modified from other dance posture, 4. Dance postures newly created, 5. Dance postures based on basic dance postures. The characteristic dance posture is the downward rolling of the hands and flipping them up to form a perpendicular hand posture by swinging the arms and the hands in a circular movement before bending the wrists and pressing the middle fingers toward the thumbs without letting the two fingers touch each other and then flinging the wrists upwards to form perpendicular hand posture. Major dance postures include hand swinging, hand flipping, forming a perpendicular hand posture, rolling the hands downwards, hand clapping and foot tramping. It is found that sitting on the heals is the most prominent of all sitting positions. The most prominent dance movement is a combination of postures, which consist of rolling and flinging the wrists, forming a perpendicular hand posture and hand clapping. The major structure of the dance movement appears in the standing position. The dance performance begins with rolling and flinging the wrists to form a perpendicular hand posture, which followed by specific dance postures and ends with hand clapping dance. This research presents a segment of the cultural development of folk performance, which may be used as a guideline for contrastive studies of performance of other ethnic groups and also for contrastive studies of performances of the Karen in Thailand and those in Southeast Asia.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7130
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.490
ISBN: 9745317462
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.490
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natthakan.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.