Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7138
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ | - |
dc.contributor.author | ศิริรัตน์ ศรีสอาด | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-05-30T07:22:16Z | - |
dc.date.available | 2008-05-30T07:22:16Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743340084 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7138 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาบุคลิกของสมาชิก และขนาดของกลุ่มที่ส่งผลต่อการประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิคกลุ่มสมมตินัยให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และศึกษาปฏิกิริยาร่วมของขนาดของกลุ่ม และประเภทของบุคลิกภาพที่มีต่อจำนวนความหลากหลายของหัวข้อที่ได้ และเวลาที่ใช้โดยใช้เทคนิคกลุ่มสมมตินัย ประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2542 จำนวน 1,488 คน สุ่มเลือกนักเรียนที่มีคะแนนเปอร์เซนต์ไทล์จากแบบทดสอบบุคลิกภาพ MPI ที่ 1-25 จำนวน 120 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว และสุ่มเลือกนักเรียนที่มีคะแนนเปอร์เซนต์ไทล์จากแบบทดสอบบุคลิกภาพ MPI ที่ 76-99 จำนวน 120 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว นำนักเรียนที่มีบุคลิกภาพเดียวกันมาแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละ 4 คน 5 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน 5 กลุ่ม และกลุ่มละ 12 คน 5 กลุ่ม และให้กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิคกลุ่มสมมตินัยเก็บข้อมูลจากเวลาที่ใช้ และจำนวนความหลากหลายของหัวข้อที่ได้ นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาปฏิกิริยาร่วมของประเภทบุคลิกภาพ กับขนาดของกลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two Way Analysis) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis) และทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติของเซฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. การประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิคกลุ่มสมมตินัยที่ให้ผลที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เมื่อพิจารณาเวลาที่ใช้ และจำนวนความหลากหลายของหัวข้อที่ได้ สำหรับบุคลิกภาพแบบแสดงตัว คือกลุ่มที่มีขนาด 4 คน และสำหรับบุคลิกภาพแบบเก็บตัว พบว่ากลุ่มขนาด 4 คนใช้เวลาในการประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิคกลุ่มสมมตินัยน้อยที่สุด แต่กลุ่มขนาด 12 คน มีจำนวนความหลากหลายของหัวข้อที่ได้มากที่สุด 2. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ และขนาดของกลุ่ม ต่อจำนวนความหลากหลายของหัวข้อที่ได้จากการประเมินความต้องการจำเป็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ และขนาดของกลุ่ม ต่อเวลาที่ใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.1 กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว ที่มีขนาดของกลุ่ม 4 คน 8 คน และ 12 คน เวลาที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำนวนความหลากหลายของหัวข้อที่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว ที่มีขนาดของกลุ่ม 4 คน 8 คน และ 12 คน เวลาที่ใช้ในการประเมิน ความต้องการจำเป็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่จำนวนความหลากหลายของหัวข้อที่ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study the personality types of group members and group sizes affecting needs assessment by using nominal group technique and to study the interaction effect of group sizes and personality types on number of items and on time spent by using nominal group technique. The population for study was 1,488 students of Mathayomsuksa 1-6 of Chulalongkorn University Demonstration School. One hundred and twenty introvert students were randomly selected from percentile rank between 1-25. One hundred and twenty extrovert students were randomly selected from percentile rank between 76-99. Students within each personality types were divided into 5 groups of 4 students, 5 groups of 8 students and 5 groups of 12 students. All groups performed the need assessment by using nominal group technique. Two Way Analysis of Variance and One Way Analysis of Variance were employed to analyze the data. The results are : 1. The most efficient group of needs assessment by using nominal group techniqueon number of items and time spent for extrovert personality was the group of 4 and for introvert personality the group of 4 used the least time spent and the group of 12 had the most number of items. 2. There was no Interaction Effect between group sizes and personality types on number of items but there was Interaction Effect between group sizes and personality types on time spent. 2.1 For introvert personality; both number items and time spent were significantly different among groups of 4, groups of 8 and groups of 12. 2.2 For extrovert personality; time spent were significantly different among groups of 4, groups of 8 and groups of 12 but the number of items were not significantly different. | en |
dc.format.extent | 11493058 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.495 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | บุคลิกภาพ | en |
dc.subject | การประเมินความต้องการจำเป็น | en |
dc.subject | กลุ่มขนาดเล็ก | en |
dc.subject | กลุ่มสมมตินัย | en |
dc.title | การศึกษาประเภทของบุคลิกภาพของสมาชิก และขนาดของกลุ่มที่ส่งผลต่อการประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิคกลุ่มสมมตินัย | en |
dc.title.alternative | study of personality types of group members and group sizes affecting needs assessment by using nominal group technique | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Taweewat.p@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1999.495 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirirat.pdf | 11.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.