Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71400
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์-
dc.contributor.authorบุญนำ โสภาอุทก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-12-08T06:48:28Z-
dc.date.available2020-12-08T06:48:28Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741437609-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71400-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งได้มีการบัญญัติ รับรองถึงเสรีภาพในการเสนอข่าวและการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ขณะเดียวกัน รัฐอาจตรากฎหมายที่มีเนื้อหาจำกัดเสรีภาพดังกล่าวได้ โดยในการศึกษานี้จะศึกษาถึงขอบเขตและเงื่อนไขในการ ตรากฎหมาย ทั้งที่ให้การรับรองและจำกัดเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน โดยได้ ศึกษาและวิเคราะห์ถึงแนวคิดและหลักการที่สำคัญของรัฐธรรมนูญในรัฐเสรีประชาธิปไตย ในต่างประเทศ เพราะ ต่างก็ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จำกัดการใช้อำนาจรัฐที่มิชอบ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการวางแนวทางกฎหมายและทางปฏิบัติของการรับรองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ของประชาชน ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ในบริบททางสังคมที่ต่างภูมิภาคกัน จากการศึกษาพบว่า เสรีภาพในการเสนอข่าวและการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนมีแนวความคิด ตามกฎหมายธรรมชาติ ถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง ที่รัฐต่างๆ ควรให้การรับรองและคุ้มครอง ซึ่งใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 19 ก็ได้รับรองว่ามนุษย์ทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการแสดงออก ในรัฐเสรีประชาธิปไตยทั้งหลายต่างก็ยอมรับว่าสิทธิเสรีภาพดังกล่าว เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างหนึ่งอันควรได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เห็นได้ว่าประเทศไทยก็ได้นำแนวความคิดและหลักการ ดังกล่าวมาบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและเป็นหลักการที่ สำคัญเป็นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพให้แก่สื่อมวลชน ในการพูดการเขียน การพิมพ์ และการโฆษณา แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่างๆ ในอดีตและฉบับปัจจุบันจะ ได้ให้การรับรองเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นแก่สื่อมวลชนไว้ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าในปัจจุบัน นี่สื่อมวลชนยังคงถูกแทรกแซงและลิดรอนสิทธิเสรีภาพ โดยกฎหมายที่มีเนื้อหาเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการ เสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน ซึ่งเป็นการขัดหรือแย้งหรือไม่สอดคล้องต่อรัฐธรรมนูญ และใน ขณะเดียวกันสื่อมวลชนอาจจะใช้เสรีภาพของตนไปละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนและอาจมีผลกระทบ กระเทือนต่อผลประโยชน์ของสาธารณะได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์หรือมาตรการที่จะให้การ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมิให้ถูกละเมิดจากอำนาจรัฐ รวมทั้งศึกษามาตรการในการควบคุมตรวจสอบ สื่อมวลชนมิให้ใช้เสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นไปละเมิดต่อหลักการดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อปกป้อง สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนและเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ อันเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThis thesis focuses its study on the constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2540. The constitution has declared freedom to present news and express their opinion of the mass media. However, the state may choose to enact laws or measures to limit those freedoms. The research includes studies in limitations and conditions to enact laws to both recognize and limit those freedoms for the press. Since the philosophy underlying those freedoms is to protect basic civil rights, comparisons are made among other democracy countries to map measures and practices from various societies and demography It is found from the study, that freedom to present news and express their opinion bases on natural law principles which is one of the basic civil rights that any state must (or should) protect. Article 19 in the Universal Declaration of Human Rights 1948 recognizes that everyone has the rights to freedom of opinion and expression. Democratized states', including Thailand, have all recognized those rights in constitutions. This is in line with the Universal Declaration of Human Flight, which is one of the main philosophies of democracy to protect rights and liberty for the mass media for the speeches, write, print, and publicise. Despite the fact that previous constitutions of Thailand, as well as the current one, recognize this principle, it is often seen that the mass media are threatened. The freedoms are also limited which is a contradiction to the constitution. On the other hand, the press can abuse the freedoms and violate civil rights of any individuals or public as a whole. Therefore, it is necessary to study the roles or measures to protect freedom of present news and express their opinion of the mass media from being violated. It can be beneficial for the public to monitor the mass media to prevent abuses of the freedoms recognized by the constitution. The balance must be understood to further public interests as aimed by the spirit of the laws.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรัฐธรรมนูญ -- ไทยen_US
dc.subjectเสรีภาพของหนังสือพิมพ์en_US
dc.subjectConstitutions -- Thailanden_US
dc.subjectFreedom of the pressen_US
dc.titleเสรีภาพในการเสนอข่าวและการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540en_US
dc.title.alternativeFreedom of expression of the mass media under the constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2540en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKriengkrai.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonnam_so_front_p.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Boonnam_so_ch1_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Boonnam_so_ch2_p.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Boonnam_so_ch3_p.pdf10.11 MBAdobe PDFView/Open
Boonnam_so_ch4_p.pdf10.94 MBAdobe PDFView/Open
Boonnam_so_ch5_p.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Boonnam_so_back_p.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.