Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7175
Title: การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลเลเดียมบนตัวรองรับแบบ MCM-41 เพื่อใช้ในปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันแบบเลือกเกิดของหมู่อัลไคน์เป็นอัลคีนในอุตสาหกรรมการผลิตยาและสารเคมีมูลค่าเพิ่มสูง : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Authors: จูงใจ ปั้นประณต
ปิยะสาร ประเสริฐธรรม
Email: ไม่มีข้อมูล
piyasan.p@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: ไฮโดรจีเนชัน
ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลเลเดียม
ซิลิกา
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเตรียมและการประยุกต์ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลเลเดียมบนตัวรองรับ MCM-41 ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์ในวัฎภาคของเหลว เมื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะและสมบัติในการเร่งปฏิกิริยาของตัวเร่ง ปฏิกิริยาแพลเลเดียมบนตัวรองรับซิลิกาและ MCM-41 ที่มีรูพรุนขนาดต่างๆ ในเชิงการกระจายตัวของแพลเลเดียม ความว่องไวในปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันของ 1-เฮกซีนในวัฏภาคของเหลวและการเสื่อมสภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าตัวรองรับ MCM-41 ที่มีรูพรุนขนาดใหญ่จะให้การกระจายตัวของแพลเลเดียมที่สูงในขณะที่บนตัวรองรับอื่นๆแพลเลเดียมกระจายตัวอยู่ภายนอกรูพรุนเป็นส่วนใหญ่ทำให้ค่าการกระจายตัวต่ำ ความว่องไวในปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันไม่ขึ้นอยู่กับการแพร่ของสารตั้งต้นในรูพรุนของตัวเร่งปฏิกิริยาแต่ขึ้นอยู่กับการกระจายตัวของโลหะแพลเลเดียม เมื่อเปรียบเทียบตัวรองรับที่มีขนาดรูพรุนเท่ากัน ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลเลเดียมบน MCM-41 มีความว่องไวสูงกว่าบนซิลิกาและไม่เสื่อมสภาพโดยการถูกชะล้างหลังจากทำปฏิกิริยาเป็นเวลา 5 ชั่วโมง เมื่อทำการเปลี่ยนสารตั้งต้นในการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาแพลเลเดียม พบว่า แพลเลเดียมคลอไรด์ให้อนุภาคแพลเลเดียมขนาดเล็ก ทำให้การกระจายตัวและความว่องไวในปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันสูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมจากแพลเลเดียมไนเตรทหรือแพลเลเดียมอะซิเตท นอกจากนี้ยังพบว่าการเสื่อมสภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาแพลเลเดียมบนตัวรองรับซิลิกาชนิดต่างๆขึ้นอยู่กับขนาดของแพลเลเดียมโดยอนุภาคขนาดเล็กจะเกิดการเสื่อมสภาพแบบซินเทอร์ริง (sintering) หรือการที่อนุภาคขนาดเล็กเกิดการรวมตัวกัน ในขณะที่อนุภาคขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดการเสื่อมสภาพโดยการถูกชะล้างมากกว่า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาให้มีขนาดอนุภาคที่เหมาะสมเพื่อให้ได้การกระจายตัวสูงและไม่เสื่อมสภาพเมื่อนำไปใช้งานในปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันในวัฏภาคของเหลว
Other Abstract: In this research, applications of supported Pd catalysts in liquid phase organic syntheses have been thoroughly studied. The characteristics and catalytic properties ofPd catalysts supported on MCM-41 and SiO[subscript 2] with various pore sizes were investigated in terms of Pd dispersion, catalytic activities for liquid-phase hydrogenation of 1-hexene, and deactivation of the catalysts. High Pd dispersion was observed on Pd/MCM-41-large pore catalyst while the other catalysts showed relatively low PD dispersion due to significant amount of Pd being located out of the pores of the supports. Based on CO chemisorption results, the catalyst activities seemed to be primarily related to the Pd dispersion and not to diffusion limitation since TOFs were nearly identical for all the catalysts used in this study. In all cases, leaching and sintering of Pd caused catalyst deactivation after 5-h batch reaction. However, compared to Pd/SiO[subscript 2] with a similar pore size, Pd/MCM-41 exhibited higher hydrogenationactivity and lower amount of metal loss. For any silica support, use of PdCl[subscript 2] as a precursor in catalyst preparation resulted in smaller Pd particles, higher dispersion, and consequently higher hydrogenation activities than those prepared from Pd(NO[subscript 3])[subscript 2] and Pd(OOCCH[subscript 3])[subscript 2] . Deactivation of silica supported Pd catalysts in liquid phase hydrogenation was found to be dependent on the palladium particle size with smaller Pd particles were susceptible to sintering while larger particles were likely to be leached. An optimum Pd particle size may be needed in order to minimize such loss and enhance Pd dispersion.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7175
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Joongjai_Synthesis.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.