Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7184
Title: พัฒนาการของวรรณยุกต์ *B และ *C ในภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้
Other Titles: The development of tones *B and *C in Southwestern Tai language
Authors: รุ่งวิมล ปินตาสะอาด
Advisors: ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Theraphan.L@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไท (ไต) -- สัทศาสตร์
ภาษาไท (ไต) -- วรรณยุกต์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบการแยกและการรวมเสียงของวรรณยุกต์แถว B และC ในภาษาไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้กลุ่ม P และกลุ่ม PH และนำเกณฑ์พัฒนาการของวรรณยุกต์ *B และ *C มาแบ่งกลุ่มย่อยภาษาไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งประมวลและสังเคราะห์การสืบสร้างคำไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิมที่มีวรรณยุกต์ *B และ *C เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับการสะกดของคำไทยกรุงเทพ ที่มีเสียงวรรณยุกต์โทในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ภาษาไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้ที่นำใช้เป็นข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 15 ภาษา ประกอบด้วย ภาษากลุ่ม P จำนวน 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทดำ ภาษาไทขาว ภาษาไทเมืองเติ๊ก ภาษาไทแดง ภาษาไทลื้อ ภาษาไทยวน ภาษาไทพ่าเก และภาษาไทเหนือ ภาษากลุ่ม PH จำนวน 7 ภาษาได้แก่ ภาษาไทยกรุงเทพ ภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาตากใบ ภาษาผู้ไท ภาษาพวน และภาษาญ้อ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า รูปแบบพัฒนาการของเสียงวรรณยุกต์ *B และ *C ในภาษาไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้กลุ่ม P มีลักษณะเด่นคือ มีรูปแบบพัฒนาการวรรณยุกต์เพียงรูปแบบเดียว ได้แก่ *B > B123-4 และ *C > C123-4 ในขณะที่กลุ่ม PH มีรูปแบบที่หลากหลายและซับซ้อนมากกว่ากล่าวคือ พัฒนาการวรรณยุกต์ *B มีพัฒนาการถึง 3 รูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุดคือ *B > B123-4 เช่นเดียวกับพัฒนาการวรรณยุกต์ *C ที่มีพัฒนาการวรรณยุกต์ 3 รูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุดคือ *C > C123-4 ส่วนการวิเคราะห์พัฒนาการของวรรณยุกต์ *B ร่วมกับ *C พบพัฒนาการถึง 5 รูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุดคือ *B > B123-4 *C > C123-4 และ B4 ไม่รวมกับ C123 นอกจากนี้ยังพบว่า มีภาษา 3 ภาษาที่มีรูปแบบเฉพาะ เนื่องจากมีพัฒนาการไม่เหมือนภาษาอื่นในกลุ่ม ได้แก่ ภาษาลาวที่มีรูปแบบพัฒนาการ คือ *B > B1234 *C > C1-234 และ B4 ไม่รวมกับ C123 ภาษาญ้อที่มีรูปแบบพัฒนาการคือ *B > B123-4 *C > C1-234 B4 = C234 และ B123 = C1 และภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีรูปแบบพัฒนาการคือ *B > B1-23-4 *C > C1-23-4 และ B4 ไม่รวมกับ C123 นอกจากนี้ภาษาไทยกรุงเทพซึ่งเป็นภาษากลุ่ม PH มีรูปแบบพัฒนาการ *B > B123-4 *C > C123-4 และ B4 = C123 ซึ่งเหมือนกับรูปแบบพัฒนาการวรรณยุกต์ของ ภาษาไทแดงซึ่งเป็นภาษากลุ่ม P เมื่อพิจารณาจากรูปแบบพัฒนาการวรรณยุกต์ *B และ*C ของภาษาไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้กลุ่ม P และกลุ่ม PH พบว่าเกณฑ์พัฒนาการวรรณยุกต์ *B และ*C ไม่สามารถนำมาแบ่งกลุ่มย่อยภาษาไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้กลุ่ม P ได้ แต่เมื่อใช้เกณฑ์พัฒนาการวรรณยุกต์ *B ร่วมกับ *C แบ่งกลุ่มย่อยภาษาไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้กลุ่ม PH จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มย่อยได้แก่ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย ภาษาไทยกรุงเทพ ภาษาผู้ไท ภาษาพวน ภาษาตากใบ กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย ภาษาลาวและภาษาญ้อ และกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้ จากการนำคำภาษาไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิมที่มีวรรณยุกต์ *B (>B4) และ *C (>C1) มาเปรียบเทียบคำไทยกรุงเทพที่สะกดด้วยเสียงวรรณยุกต์โท โดยอาศัยความรู้ที่ได้จากการสืบสร้างภาษาไทยสาขาตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิมที่มีวรรณยุกต์แถว B และ C พบว่ามีคำไทยกรุงเทพ จำนวน 28 คำ ที่มีตัวสะกดไม่กูกต้องและสอคคล้องกับพัฒนาการของเสียงวรรณยุกต์
Other Abstract: To analyze and compare the split and merger patterns of tones B and C in the P and PH language groups of Southwestern Tai (SWT). Based on the development of tones *B and *C, 15 languages were subclassified. Finally, Bangkok Thai words (Siamese) containing the falling tone were compared with those of Proto-Southwestern Tai (PSWT) having tones *B and *C in order to check the spelling of the Bangkok Thai words. The data used in this study were elicited from the available wordlists and dictionaries of 15 Southwestern Tai languages and also from the researcher's field notes. These 15 languages were divided into two groups: 8 languages of the P group (Black Tai, White Tai, Tai Muang Toek, Red Tai, Tai Lue, Tai Yuan, Tai Phakae and Tai Nue) and 7 languages of the PH group (Bangkok Thai, Lao, Southern Thai, Tak Bai, Phuthai, Puan and Yo). The findings reveal that there is only one prominent pattern of the development of *B and *C in the P group, *B > B123-4 and *C > C123-4. The patterns found in the PH group are more complicated. For each tone, three patterns have been found. The prominent patterns are *B > B123-4 and *C > C123-4. Regarding the patterns of development of *B together with *C, five patterns have been found. The combinative pattern *B > B123-4 *C > C123-4 and B4 not equal C123 is the most prominent. Besides, Lao, Yo and Southern Thai have distinctive patterns, i.e., *B > B1234 *C > C1-234 and B4 not equal C123 in Lao, *B > B123-4 *C > C1-234 B234 = C4 and B123 = C1 in Yo, and *B > B1-23-4 *C > C1-23-4 and B4 = C123 in Southern Thai, Bangkok Thai, a language in the PH group and Red Tai, a language in the P group, have the same type of combinative development pattern, *B > B123-4 *C > C123-4 and B4 =C123. The findings suggest that the development of tone *B and of tone *C should not be used as the criteria for subcategorizing languages in the P group, even though they seem to work quite well for languages in the PH group. The PH-group languages can be subclassified into 3 subgroups: a) Bangkok Thai, Phuthai, Puan and Takbai, b) Lao and Yo, and c) Southern Thai. When the Bangkok Thai words containing the falling tone, were compared with the reconstructed PSWT forms having tone *B and *C, 28 of them have been found misspelled since their tones do not conform to the development of tones *B and *C
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7184
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1036
ISBN: 9745311537
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1036
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RungwimolPi.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.