Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72473
Title: ผลของการทำคอโรนาต่อสมบัติการยึดติดและสมบัติเชิงกลของฟิล์มประกบพอลิโอเลฟินส์
Other Titles: Effects of corona treatment on adhesion and mechanical properties of laminated polyolefin films
Authors: ปิติพงศ์ สมบูรณ์วิวัฒน์
Advisors: วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา
วรรณี ฉินศิริกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: โพลิโอเลฟิน
ฟิล์มถ่ายภาพ -- สมบัติทางกล
Polyolefins
Photography -- Films -- Mechanical properties
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้พยายามสร้างความเข้าใจพื้นฐานของผลการทำคอโรนาที่มีต่อการทำฟิล์มประกบ และเสนอแนวทางการลดปริมาณการใช้การประกบฟิล์ม โดยเลือกศึกษาฟิล์มประกบ 2 ระบบ คือ 1)ฟิล์มประกบระหว่างพอลิพรอพิลีนที่มีการจัดเรียงตัวสองทิศทาง (Biaxially Oriented Polypropylene, BOPP) กับ ฟิล์มพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene, LDPE) และ 2) ฟิล์มประกบระหว่าง BOPP กับ ฟิล์มพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น (Linear Low Density Polyethylene, LLDPE) การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของฟิล์มหลังจากการทำคอโรนา ด้วยเครื่อง XPS (X-ray Photoectron Spectroscopy) พบว่ามีปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดขึ้นบนผิวหน้าของฟิล์ม BOPP LDPE และ LLDPE นอกจากนี้ฟิล์มทั้ง 3 ชนิดยังมีปริมาณออกซิเจนเพิ่มขึ้นประมาณ 1 เท่า 3 เท่า และ 11 เท่าตามลำดับ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์จาก XPS ยังพบว่าการที่ใช้ประกบฟิล์มจะยึดติดอยู่กับฟิล์ม BOPP ดีกว่า LDPE และ LLDPE สำหรับการเปลี่ยนแปลงทายกายภาพหลังจากการทำคลอโรนา ฟิล์มจะมีรูพรุน (micropit) มากขึ้นโดยสังเกตจากความเข้มของภาพจาก AFM (Atomic Force Microscopy) ส่วนความขรุขระเฉลี่ยง (Roughness average, Ra) ของฟิล์ม BOPP LDPE และ LLDPE จะเพิ่มในระดับนาโนสเกลประมาณ 40% 50% และ 20% ตามลำดับ การประกบฟิล์มที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ความดัน 40 กิโลกรัมต่อตารางซ์นติเมตร เป็นเวลาน้อยกว่า 10 วินาที ตามกระบวนการที่ใช้ในอุตสาหกรรม และมีกาวพอลิอีเทอร์ยูรีเทน (Polyether urethane) เป็นตัวประสาน (primer) พบว่าฟิล์มประกอบที่ได้รับการปรับผิวหน้าจะมีแรงยึดติดกันได้ดี โดยฟิล์มประกอบ BOPP / LDPE มีค่าความต้านแรงลอก (Peel strength) ในช่วง 70 ถึง 550 กรัม/15มิลลิเมตร ส่วนฟิล์มประกบ BOPP / LLDPE มีค่าความต้านแรงลอกอยู่ในช่วง 300 ถึง 780 กรัม/ 15 มิลลิเมตร นอกจากนี้การลดความหนาของกาวจาก 20 ไมครอน เป็น 5 ไมครอน เพื่อใช้สำหรับประกบฟิล์มยังคงให้ค่าความต้านแรงลอกของฟิล์มประกบ ทั้ง 2 ชนิด ไม่ต่ำกว่า 200 กรัม/15มิลลิเมตร ซึ่งเป็นค่าที่กำหนดสำหรับแรงยึดติดของฟิล์มประกบในอุตสาหกรรม สำหรับเชิงกลของฟิล์มประกบ BOPP / LDPE และ BOPP / LLDPE จะมีค่าโมดูลัส และค่าความเค้นที่จุดขาดในแนว TD มากว่าในแนว MD ประมาณ 100 % ในทางกลับกันค่าความเครียดที่จุดขาดและความเหนียวในแนว MD จะมากกว่าแนว TD ประมาณ 200 % สำหรับ BOPP / LDPE และ 100 % สำหรับ BOPP / LLDPE ในกรณีของฟิล์มที่ไม่มีแรงยึดติดกันเมื่อนำไปทดสอบสมบัติเชิงกลจะพบการแยกชั้นของฟิล์ม (Delamination) เกิดขึ้นด้วย
Other Abstract: Major objectives of this thesis were two fold: 1) to develop basic understanding of corona treatment on packaging films as well as its effect on the successive lamination process, and 2) to investigate whether the amount of currently used adhesive (primer) and solvent (i.e., ethyl acetate) could be reduced. Two polymer films systems of BOPP/LDPE and BOPP/LLDPE laminates were studied. Characterization of chemical changes after corona treatment carried out by X-ray Photoelectron Spectroscopy (XPS) revealed that oxidation reaction occurred on film’s surfaces. XPS results also showed that adhesives used tended to better adhere on BOPP films as evidenced by adhesive trace existing on the BOPP surface after peel. This observation was also supported by SEM micrograph of the peeled BOPP/PE samples. Physical analyzes AMF (Atomic Force Microscopy) represented micropits on BOPP, LDPE and LLDOE film’s surfaces after corona treatment, where increases on film’s surface roughness in nanoscale were 40%, 50% and 20%, respectively. Selected primer, Poly (ether urethane) was coated on BOPP’s surface followed by industrially used lamination process of 400C, 40 kg/ cm2 pressure and for less than 10 seconds. It was clear that corona treatment obviously showed significant improvement in adhesive bonding in laminated films. Obtained peel strengths were in a range of 70 to 550 g/15 mm for BOPP/LDPE and 300 to 780 g/ 15 mm for BOPP/ LLDOE. The quantity of primer and solvent was reduced through minimizing thickness of the primer from 20µm to 5µm. Both laminated films of BOPP/LDPE and BOPP/ LLDOE with 5µm primer thick still showed high peel strength which are within or even exceed the industrially required value of 200 g/15mm. Modulus and stress at stress at break of BOPP/LDPE and BOPP/ LLDOE in TD were approximately 100% higher than those in MD. In contrast, MD strain at break and toughness of both laminates were approximately 200% and 100% higher than those in TD. In the case of films with no corona treatment, poor adhesive bonding was observed together with delamination occurring upon mechanical testing.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72473
ISBN: 9743466924
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitipong_so_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและ บทคัดย่อ1.11 MBAdobe PDFView/Open
Pitipong_so_ch1_p.pdfบทที่ 1324.62 kBAdobe PDFView/Open
Pitipong_so_ch2_p.pdfบทที่ 22.44 MBAdobe PDFView/Open
Pitipong_so_ch3_p.pdfบทที่ 3710.23 kBAdobe PDFView/Open
Pitipong_so_ch4_p.pdfบทที่ 42.84 MBAdobe PDFView/Open
Pitipong_so_ch5_p.pdfบทที่ 5564.02 kBAdobe PDFView/Open
Pitipong_so_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.