Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75295
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์-
dc.contributor.authorปิยรัชต์ เจริญลาภ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-08-29T09:59:05Z-
dc.date.available2021-08-29T09:59:05Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75295-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระนี้มุ่งศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ในอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : กรณีศึกษาประเทศจีน ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาข้อจํากัดของมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตรถยนต์พลังงาน ไฟฟ้าในประเทศไทย (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายของประเทศจีนด้านการส่งเสริม การลงทุนภาคอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย และ (3) เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมาย สําหรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยโดยใช้วิธีการศึกษา เชิงเอกสาร (Documentary Research) ผลการศึกษาพบว่า ข้อจํากัดจากมาตรการทางกฎหมายไม่เอื้ออํานวยต่อการส่งเสริมการใช้รถยนต์ พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่งผลให้รถยนต์ พลังงานไฟฟ้ามีราคาสูงกว่ารถยนต์พลังงานน้ํามัน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ภาครัฐให้การส่งเสริมการลงทุนด้วยมาตรการและสิทธิพิเศษทางภาษีอากร ยังไม่เพียงพอต่อแข่งขัน เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการของประเทศจีน ประกอบกับข้อจํากัดความพร้อมของสิ่งอํานวยความสะดวก ได้แก่ สถานีเติมประจุไฟฟ้าที่ยังไม่เพียงพอและครอบคลุมในแต่ละพื้นที่ การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ มีน้ําหนักมากและราคาสูง ดังนั้นแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายควรทําให้ระดับราคารถยนต์ พลังงานไฟฟ้าที่จําหน่ายในประเทศไทยต่ําลง โดยพัฒนามาตรการทางกฎหมายภาษีศุลกากร และภาษีสรรพสามิต โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้ต้นทุนการผลิต ของภาคอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ด้วยการให้การส่งเสริมการการลงทุนแก่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยแบบครบวงจร ให้ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร และหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปีสําหรับการผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ มอเตอร์ แบตเตอรี่ และเทียบเท่าการผลิตเพื่อส่งออก รวมถึงการส่งเสริม ภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุนในกิจการสถานีบริการเติมประจุไฟฟ้าด้วย พิจารณาภาษีนําเข้าสําหรับรถยนต์ไฟฟ้า จากต่างประเทศ และพิจารณาลดหย่อนภาษีสรรพสามิตเหลือ 0% ใน 3 ปีแรก หรือตลอดอายุการใช้งาน ของรถยนต์เมื่อการพัฒนาแบตเตอรี่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.120-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรถยนต์ไฟฟ้า -- วิจัย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมรถยนต์en_US
dc.titleแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสหากรรม รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : กรณีศึกษาประเทศจีนen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWirote.W@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordรถยนต์ไฟฟ้าen_US
dc.subject.keywordอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.120-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186168834.pdf52.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.