Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75319
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์-
dc.contributor.authorพศิน กานตพิชาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-08-31T03:57:44Z-
dc.date.available2021-08-31T03:57:44Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75319-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractเนื่องจากสังคมปัจจุบันมีการยอมรับในเพศทางเลือกมากขึ้นจากในอดีต จึงทำให้ปัจจุบันมีการใช้ชีวิตในลักษณะคู่ชีวิตเพศเดียวกันมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีการใช้ชีวิตร่วมกันในรูปแบบชีวิตคู่ทั้งที่แสดงออกและไม่แสดงออก ตลอดจนการสร้างครอบครัวให้ปรากฏชัดในสังคม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมและกรอบแนวความคิดเรื่องการยอมรับความหลากหลายทางเพศ จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมในเรื่องการใช้ชีวิตของกลุ่มเพศเดียวกันและเพศทางเลือกมากขึ้น โดยปรัชญาของนิติศาสตร์เองมีเพื่อตอบสนองปัญหาของสังคม ณ ขนะนั้นเนื่องจากสังคมมีพลวัตและเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยระบบฎหมายในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสที่เป็นเพศเดียวกัน กล่าวคือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 กฎหมายลักษณะครอบครัว ไม่ได้บัญญัติรับรองถึงการสมรสของคู่ชีวิตเพศเดียวกัน จึงเป็นผลให้ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีผลผูกพันธ์ทางกฎหมายได้ ผลที่ตามมาก็คือบุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับการรับรองในเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย และยังมีเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันในการใช้ชีวิตคู่ของกลุ่มบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้ทางหลักนิติศาตร์ยังไม่ได้มีการยอมรับอย่างเป็นรูปธรรม ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่รับรองสถานะของการเป็นคู่สมรส หรือกฎหมายที่ให้สิทธิคุ้มครองในการครองคู่แก่คนกลุ่มเพศทางเลือกแต่ประการใด ที่ผ่านมาได้มีการทำสำรวจเรื่อง “สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่ 3” จากนิด้าโพลเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยผลการสำรวจพบว่า การยอมรับของประชาชนกรณีมีเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานในองค์กรเป็นเพศที่ 3 ร้อยละ 90.15 ระบุว่า ยอมรับได้ ในขณะที่ร้อยละ 7.78 ระบุว่าไม่สามารถยอมรับได้ ดังนี้แล้วจึงมีเหตุผลและความจำเป็นในการจัดทำเอกัตศึกษานี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ของการให้สิทธิต่าง ๆ ทางกฎหมายแก่บุคคลเพศทางเลือก ตลอดจนเหตุผลสนับสนุนการบังคับใช้พระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. ... อันจะทำให้กลุ่มเพศทางเลือกมีสิทธิ และบทบาททางสังคมที่เทียบเท่ากันกับบุคคลอื่นในสังคมอย่างแท้จริง ซึ่งจะเกิดผลกระทบในทางเศรษฐศาสตร์ในเชิงบวกโดยตรง ดังนั้น การยอมรับทางสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแต่การยอมรับทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้สิทธิต่าง ๆ จะสามารถส่งผลในทางบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้ หลายคนอาจมองว่าการจดทะเบียนนั้นไม่สำคัญสำหรับคนสองคนจะเป็นครอบครัวเดียวกันแค่คนสองคนรักกันก็พอ แต่ถ้ามองถึงสิทธิของพลเมือง การจดทะเบียนสมรสควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงจะได้ นอกจากนี้ยังเป็นการยืนยันสิทธิและแสดงหน้าที่ของคนทั้งสองได้มากกว่าแค่ความรัก การจดทะเบียนสมรสอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คู่รักทุกคู่ต้องการ ขึ้นกับความสมัครใจของคนสองคน แต่การจดทะเบียนสมรสเป็นสิ่งที่พลเมืองทุกคนก็ควรจะได้รับสิทธิในการจดทะเบียนที่เท่าเทียมกัน แต่บุคคลคนกลุ่มเพศทางเลือกนั้นยังไม่ได้รับสิทธินี้en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.116-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกฎหมายการสมรสen_US
dc.subjectคู่สมรส -- สถานภาพทางกฎหมายen_US
dc.titleผลกระทบในทางเศรษฐศาสตร์กับการยอมรับกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนชีวิตคู่en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuphasit.T@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordการสมรสเพศเดียวกันen_US
dc.subject.keywordกฎหมายคู่ชีวิตen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.116-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186170034.pdf28.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.