Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75404
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์-
dc.contributor.authorสุพจน์ บุญวิบูลย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-05T04:21:00Z-
dc.date.available2021-09-05T04:21:00Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75404-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษา เรื่อง “แนวทางการกํากับดูแลรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย กรณีศึกษาอัตรา ค่าบริการรถยนต์สามล้อ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวข้องกับอัตราค่าโดยสาร รถสาธารณะในประเทศไทย และบทลงโทษสําหรับผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะของประเทศไทย เพื่อศึกษา ศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวของกับอัตราค่าโดยสารรถยนต์สามล้อของกฎหมายประเทศอินเดีย เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และบทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะ ของประเทศญี่ปุ่น เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ความเหมาะสมในการคิดอัตราค่าโดยสารและการควบคุมพฤติกรรม ของผู้ขับขี่รถยนต์สามล้อในประเทศไทย และหาแนวทางและปรับใช้กฎหมายต่างประเทศกับประเทศไทย การดําเนินการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยดําเนินการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารเพื่อวิเคราะห์ปัญหา และหาข้อสรุปของการศึกษา ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งซึ่งมีการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะจํานวนมากในทุกพื้นที่ ของประเทศ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่และมีผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะจํานวนมาก อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป รวมถึงผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะก็ตาม แต่ยังการฝ่าฝืนกฎหมายจราจรอยู่ทั่วไป ทั้งนี้ในงานวิจัยนี้ผู้เขียน ศึกษาเจาะจงไปที่ผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะประเภทรถยนต์สามล้อ จากการศึกษาพบว่าการให้บริการรถยนต์โดยสารประเภทรถยนต์สามล้อมีปัญหาเรื่องการเก็บ ค่าโดยสารที่ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนซึ่งนําไปสู่การเรียกเก็บค่าโดยสารแพงเกินสมควรและปัญหาการให้บริการ ที่ไม่เป็นมิตรต่อผู้รับบริการและเป็นการกระทําซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายจราจรในหลายกรณีดังนั้น จากการศึกษาวิจัยผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าประเทศไทยควรนําบทบัญญัติกฎหมายของประเทศอินเดียและ ประเทศญี่ปุ่นมาเป็นแนวทางในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดราคาค่าบริการของรถโดยสารสาธารณะ ประเภทรถยนต์สามล้อให้มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนและนํามิเตอร์เรียกเก็บเงินมาใช้กับรถยนต์โดยสารสาธารณะ ประเภทรถยนต์สามล้อเพื่อให้การเก็บค่าโดยสารเป็นไปโดยถูกต้องและได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกําหนด ส่วนการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อผู้ใช้บริการนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรเพิ่มโทษกับผู้ฝ่าฝืน กฎหมายเนื่องจากโทษที่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายจราจรปัจจุบันเป็นโทษปรับซึ่งมีอัตราโทษปรับไม่ สูงเพียงพอที่จะทําให้ผู้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเกิดความเกรงกลัว รวมไปถึงการใช้กลไกตลาดผ่าน การสนับสนุนเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการหลายรายเพื่อให้ ผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะทุกชนิดแข่งขันเพื่อให้บริการที่ดีที่สุดในราคาที่ได้มาตรฐานอันจะนํามาซึ่ง ผลประโยชน์สูงสุดกับผู้รับบริการ และแก้ไขปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบและเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐาน การให้บริการรถโดยสารของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.137-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรถประจำทาง -- ค่าโดยสารen_US
dc.subjectรถสามล้อเครื่องen_US
dc.titleแนวทางการกำกับดูแลรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย : กรณีศึกษาอัตราค่าโดยสารรถยนต์สามล้อen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWirote.W@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordรถโดยสารสาธารณะen_US
dc.subject.keywordการเก็บค่าโดยสารen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.137-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186180234.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.