Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75488
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหัวในการผลิตบัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2557
Other Titles: Cost estimation in producing Chulalongkorn pharmaceutical students in fiscal year 2014
Authors: กรชวัล สัมมานนท์
พิมพ์พรรณ สิทธิอัฐกร
วราภรณ์ อำไพสุทธิพงษ์
Advisors: ภูรี อนันตโชติ
Other author: คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: ต้นทุนการผลิต
Cost
นักศึกษา -- ค่าใช้จ่าย
College students -- Cost
นักศึกษาเภสัชศาสตร์
Pharmaceutical -- Students
Issue Date: 2558
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยที่ใช้ในการผลิตนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษาในปีงบประมาณ 2557 โดยวิเคราะห์ในมุมมองของผู้ให้บริการทางการศึกษา ซึ่งจะเก็บรวมรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายส่วนของงบรายได้และงบแผ่นดิน โดยนำมาวิเคราะห์เป็นต้นทุนทางบัญชี ซึ่งรวมถึงค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ ทั้งนี้ไม่รวมต้นทุนที่ดินสิ่งก่อสร้าง และค่าเสียโอกาส ผลผลิตของการศึกษานี้ได้แก่ การเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา งานวิจัย และงานบริการวิซาการวิซาชีพ หน่วยต้นทุนแบ่งเป็นต้นทุนทางตรงและทางอ้อม ต้นทุนทางตรงจะประกอบด้วยต้นทุนจากหน่วยต่างๆ ที่มีส่วนโดยตรงต่อผลผลิตของคณะ เช่น เงิน ค่าตอบแทนอาจารย์และเจ้าหน้าที่ จะกระจายเข้าสู่ผลผลิตแต่ละประเภท โดยแบ่งตามสัดส่วนเวลาที่ใช้ในการผลิตผลผลิตดังกล่าว หน่วยต้นทุนทางอ้อมหมายถึงหน่วยสนับสนุนการผลิต ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายวิจัย ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนิสิต ฝ่ายนวัตกรรมทางการศึกษา ฝ่ายพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพ ต้นทุนทางอ้อมจะถูกกระจายให้แก่หน่วยต้นทุนทางตรงโดยใช้วิธีแบบลำดับชั้น (Step down method) เมื่อนำต้นทุนทั้งสองประเภทมารวมกัน จะได้ต้นทุนรวมที่ใช้ในการผลิตผลผลิตแต่ละประเภท แล้วจึงนำมาเฉลี่ยเป็นต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยจากการศึกษาพบว่าต้นทุนรวมที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เพื่อให้ได้ผลผลิต 4 ประเภทคิดเป็น เงิน 244,270,126 บาท /ปี โดยใช้เพื่อผลิตบัณฑิต (ทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา) คิดเป็นร้อยละ 86.13 เป็นการให้บริการทางวิซาการวิชาชีพร้อยละ 10.10 และผลงานวิจัยร้อยละ 3.7 7 เมื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตเภสัชศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตร 6 ปี) ในภาพรวมพบว่าต้องใช้ต้นทุนเฉลี่ย 1 16,906 บาท/คน/ปี๊ เมื่อแยกวิเคราะห์ต้นทุนเฉลี่ยของนิสิตสาขาเภสัชศาสตร์และสาขาเภสัชบริบาลพบว่าต้องใช้ต้นทุนเฉลี่ย 147,461 และ 88,721 บาท/คน/ปี ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตบัณฑิตสาขาเภสัชศาสตร์สูงกว่าการผลิตนิสิตสาขาบริบาลในทุกชั้นปี เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการผลิตนิสิต 1 คนกับค่าเล่า เรียนที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บกับนิสิต (36,000 บาท/คน/ปี) พบว่ารัฐบาลต้องรับภาระอุดหนุนการศึกษาให้แก่นิสิตเป็นมูลค่า 80,565 บาท/คน/ปี การผลิตนิสิตระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกหลักสูตรปกติมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 550,900 และ 665,321 บาท/คน/ปี ตามลำดับ หลักสูตรที่มีต้นทุนในการผลิตบัณฑิตสูงที่สุดได้แก่หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเภสัชเคมี (1,195,453 บาท/คน/ปี) ส่วนหลักสูตรที่มีต้นทุนต่ำที่สุดได้แก่ หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเภสัชกรรมคลินิก (121,468 บาท/คน/ปี) ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนได้แก่จำนวนนิสิตในหลักสูตร และการเรียนที่เน้นการปฏิบัติการในห้องทดลอง จะเห็นได้ว่าต้นทุนที่ใช้ผลิตบัณฑิตมีค่าสูงกว่าค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บ (62,000 บาท/คน/ป๊) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีต้นทุนการผลิตบัณฑิตในทุกระดับสูงกว่าค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัย เรียกเก็บทั้งนี้พบว่าปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนสูงได้แก่จำนวนผู้เรียนในหลักสูตร การเรียนรูปแบบปฏิบัติการ การมีรายวิชาเลือกที่หลากหลาย
Other Abstract: The objective of this study was to estimate the unit cost from educational institute's perspective for producing postgraduate and undergraduate pharmacy student in the Faculty of Pharmaceutical Sciences Chulalongkorn University. The secondary data of all expenditure from all types of budgets, government statement expenditure and the university statement of expenditure, on producing pharmacy students except land and building cost, was collected and combined. Accounting cost principle including depreciation costs and durable good costs were used, but land and building cost, and opportunity cost were excluded. There were four outputs in this study; graduates from PharmD program, graduates from MS and Ph.D. program, published research, and academic and professional services. Cost centers were identified and divided into direct and indirect cost centers. Direct cost centers consisted of costs from each department that directly produce the outputs such as teachers' salaries and staffs' salaries which were allocated into each output. Teachers' salaries were calculated by the proportion of working hours including teachings, researches and academic services. Indirect cost centers were defined as the centers that support in producing students including administrative team unit, research affairs unit, academic affairs unit, student affairs unit, education innovation unit, academic and professional unit and planning and quality development unit. Indirect cost were allocated into direct cost center by step down method. Therefore, the unit cost were calculated by Indirect cost added to direct cost and divided by unit of outputs. The study found that total cost in producing all four outputs was 244,270,126 bahts which 86.13%, 10.10% and 3.77% were related to graduate production, academic and professional services, and published research, respectively. Unit costs in producing PharmD graduates was found to be 116,906 bahts/person/year. Unit cost of producing Pharm D-Pharmaceutical Science graduates was more expensive than Pharmaceutical Care counterparts (147,461 vs 88,721 bahts/person/year). In addition, the study revealed that the unit cost of producing Pharm Science graduates was higher than Pharm Care graduates in all class. The unit cost of producing Master's degree and Doctor's degree students were 550,900 and 665,321 bahts/person/year, respectively. The program with highest unit cost was Ph.D. program in Pharmacognosy (1,195,453 bahts/person/year), and the program with lowest unit cost was Ph.D. program in Clinical pharmacy (121,468 bahts/person/year) In conclusion, the Faculty of Pharmaceutical Sciences spend more in producing graduates of all level than the revenue received from each student. Factor affected unit cost included the number of student in program, lab based program, and providing too many electives.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75488
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_4.4_2558.pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม(4.4-2558)1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.