Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75702
Title: อิทธิพลของการคุกคามจากการเหมารวมและการดูตัวแบบเชิงบวกต่อการรับรู้การคุกคามจากการเหมารวมและความเร็วในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของคนที่มีภาวะตาบอดสี
Other Titles: The effects of stereotype threat and exposure to a positive role model on color blind people's stereotype threat perception and reaction time to stimulus
Authors: อนุสรณ์ อาศิรเลิศสิริ
Advisors: ประพิมพา จรัลรัตนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: ตาบอดสี
การคุกคามจากภาพในความคิด
Color blindness
Stereotype threat
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการคุกคามจากการเหมารวมและการให้ตัวแบบเชิงบวกในกลุ่มคนที่มีภาวะตาบอดสีในประเทศไทยซึ่งเป็นเพศชายจํานวน 44 คน โดยสุ่มการจัดกระทําให้ผู้ร่วมการทดลองเข้าเงื่อนไขแบบ 2 x 2 โดยมีการอ่านข้อความที่มีการคุกคามจากการเหมารวม (หรืออ่านข้อความที่ไม่มีการคุกคาม) และการดูวิดีโอตัวแบบเชิงบวก (หรือดูวีดีโอที่ไม่มีตัวแบบเชิงบวก) เพื่อลดอิทธิพลของคุกคามจากการเหมารวม โดยมีการวัดความเร็วในการตอบสนองจากการทดสอบความเร็วในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากการเล่มเกม Stroop Task และทํามาตรวัดการรับรู้การถูกคุกคามจากการเหมารวม ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Two-way ANOVA พบว่ามีผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขการคุกคามจากการเหมารวมและการให้ตัวแบบเชิงบวก กล่าวคือกลุ่มที่ได้รับการคุกคามและได้ตัวแบบเชิงบวกมีคะแนนการรับรู้การถูกคุกคามตํ่ากว่ากลุ่มอื่น รวมถึงมีความเร็วในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ดี อย่างไรก็ตามไม่พบอิทธิผลหลักของการคุกคามจากการเหมารวมและการดูวีดีโอตัวแบบเชิงบวกในการทดลองนี้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของการคุกคามจากการเหมารวมขึ้นอยู่กับการที่ผู้ร่วมวิจัยได้ชมวิดีโอตัวแบบเชิงบวกมาก่อนหรือไม่
Other Abstract: This research examined the effects of stereotype threat and being exposure to positive role models among Thai male color-blind individuals. 44 participants were randomly assigned to 2 (threat/no threat) x 2 (role/ no role) conditions. They were instructed to read stereotype threat message (vs. no threat) and watch positive role model video (vs. no role model), attend Stroop Task game to measure their reaction time and rate stereotype perception questionnaire in that order. Two-way ANOVA analysis showed that there were interactions between threats and role model conditions on both perceived stereotype threat and reaction time on the Stroop Task. When participants received both threat massage and positive roles model, participants felt significantly less threatened, as well as, performed better at Stroop Task. However, no main effects were found in both stereotype perception and reaction to stimulus, suggesting the effect of stereotype threat depending on whether participants watched positive role model video.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75702
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.677
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.677
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077640038.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.