Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75703
Title: | A comparison of emotion regulation strategies’ effectiveness under cognitive fatigue |
Other Titles: | การเปรียบเทียบประสิทธิผลของวิธีการกำกับอารมณ์ในสภาวะเหนื่อยล้าทางความคิด |
Authors: | Sirinapa Churassamee |
Advisors: | Kris Ariyabuddhiphongs |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Psychology |
Subjects: | Resilence quotient Mental fatigue ความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจ ความล้าทางจิต |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | This research compared the effectiveness of three emotion regulation strategies including reappraisal, distraction, and affect labeling under cognitive fatigue. In the 2 (fatigue vs. non-fatigue) × 3 (emotion regulation strategies) within-subject design, 46 participants were randomly assigned into conditions using an incomplete block design method. Self-report negative emotions and skin conductance responses to emotion-eliciting pictures were measured to compare the effectiveness of the strategies. Results showed that reappraisal was more effective in regulating negative emotions than distraction and affect labeling in both fatigue and non-fatigue conditions. While reappraisal was a robust method of regulating emotion, the other two less-demanding strategies show some promising results. The present study provided a consistent conclusion with previous works which showed that reappraisal worked better than distraction and affect labeling. However, no difference in emotional responses was found when comparing the cognitive fatigue conditions. |
Other Abstract: | งานวิจัยนี้เปรียบเทียบประสิทธิผลของวิธีการกำกับอารมณ์ 3 วิธีภายใต้สภาวะเหนื่อยล้าทางความคิด คือ วิธีการเปลี่ยนความคิด วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ และ วิธีการเรียกชื่อความรู้สึก โดยเงื่อนไขในการทดลองประกอบไปด้วย 2 (มีความเหนื่อยล้าทางความคิดและไม่มีความเหนื่อยล้าทางความคิด) x 3 (วิธีการกำกับอารมณ์ 3 วิธี) แบบวัดซ้ำภายในบุคคล (within-subject) ผู้เข้าร่วมการทดลอง 46 คน ถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขโดยรูปแบบการเข้าเงื่อนไขอย่างไม่สมบูรณ์ (incomplete block design) งานวิจัยนี้ใช้คะแนนการรายงานความรู้สึกทางลบด้วยตนเอง (self-report negative emotions) และการวัดการต้านทานทางผิวหนัง (skin conductance) ต่อภาพกระตุ้นอารมณ์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของวิธีการกำกับอารมณ์ ผลการทดลองพบว่า วิธีการเปลี่ยนความคิดมีประสิทธิผลในการลดอารมณ์ทางลบมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเบี่ยงเบนความสนใจและวิธีการเรียกชื่อความรู้สึกตามลำดับ ทั้งในเงื่อนไขมีความเหนื่อยล้าทางความคิดและไม่มีความเหนื่อยล้าทางความคิด ในขณะที่วิธีการเปลี่ยนความคิดมีประสิทธิผลที่ดี วิธีการกำกับอารมณ์ที่ใช้ทรัพยากรทางความคิดน้อยกว่าอีกสองวิธีก็มีผลที่ดีเช่นกัน งานวิจัยนี้มีความสอดคล้องกับการวิจัยก่อนหน้าที่เสนอว่าวิธีการเปลี่ยนความคิดมีประสิทธิผลที่ดีกว่าวิธีการเบี่ยงเบนความสนใจและวิธีการเรียกชื่อความรู้สึก อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ไม่พบผลความแตกต่างของการตอบสนองทางอารมณ์ในเงื่อนไขมีความเหนื่อยล้าทางความคิด |
Description: | Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2019 |
Degree Name: | Master of Arts |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Psychology |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75703 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.454 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.454 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6077642338.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.