Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75737
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
Other Titles: The effect of self-management program on sodium consumption behaviours among heart failure patients
Authors: ดาวเรือง ยางศรี
Advisors: ระพิณ ผลสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: หัวใจวาย
หัวใจวาย -- ผู้ป่วย
พฤติกรรมสุขภาพ
โซเดียม -- ผลกระทบทางสรีรวิทยา
Heart failure
Heart failure -- Patients
Health behavior
Sodium -- Physiological effect
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวทั้งเพศชายและหญิงจำนวน 48 คน ที่มารับบริการคลินิกหัวใจล้มเหลว แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 24 คน และกลุ่มทดลอง 24 คน จับคู่ให้มีความใกล้เคียงกันในเพศ และระดับความรุนแรงของโรค กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งโปรแกรมการจัดการตนเองประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การฝึกทักษะการจัดการตนเองที่จำเป็น 6 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว เครื่องมือกำกับการทดลอง คือแบบสอบถามการจัดการตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว มีค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค .82 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=11.66, df=23, p=.000) 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=7.27, df=46, p=.000)
Other Abstract: This study, a quasi-experimental research design, aimed to determine the effect of self-management program on sodium consumption behaviors among heart failure patients. The samples were 48 heart failure patients who were recruited from heart failure clinic of the outpatient department of General Police Hospital. The control group (n=24) and experimental group (n=24) were matched by gender and level of heart failure class. The control group received conventional care while the experimental group attended the four weeks of self-management program, which included 6 steps of core self-management skills. The instruments for collecting data were the behaviors of sodium consumption questionnaire and the behavioral self-management questionnaire was used to monitor the intervention. These instruments were tested for Content validity index by five qualified experts which CVI were at .82 and .87 respectively. Its Cronbach’s Alpha Coefficient were at .82 and .85 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The results revealed that; 1. The mean score of sodium consumption behaviors in heart failure patients after attending the self-management program was significantly higher than before attending the program (t=11.66, df=23, p=.000). 2. The mean score of sodium consumption behaviors of the experimental group who attended the self-management program were significantly greater than the control group (t=7.27, df=46, p=.000).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75737
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.993
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.993
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077303636.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.