Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76430
Title: | การเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นสำนักงานดิจิทัลของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ |
Other Titles: | Efficiency improvement of the office of the national broadcasting and telecommunications commission as a digital organization |
Authors: | ฐิณัชญสินี รวิชญทรัพย์ |
Advisors: | วิมลมาศ ศรีจำเริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยกระดับสำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ สำนักงาน กสทช. ให้เป็นสำนักงานดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 6 ตามแนวทางการประเมินรัฐบาลดิจิทัลของ สพร. ในด้านต่างๆ และศึกษาแนวทางรวมถึงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานการพัฒนาสำนักงานดิจิทัลของ สำนักงาน กสทช. โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามแบบกึ่งมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูล จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการของ กสทช. และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พรรณนาบรรยายข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นสำนักงานดิจิทัล คือ การบูรณาการด้านข้อมูลของบุคลากร เนื่องจากปัจจุบันบุคลากรขาดการสื่อสารเพื่อแบ่งปันข้อมูลในการดำเนินงานร่วมกันเช่น ในการประสานงานเพื่อก่อให้เกิดระบบทั้งการให้บริการประชาชน อีกทั้งยังรวมถึงระบบที่ใช้ดำเนินงานภายในร่วมกัน ส่งผลทำให้เกิดระบบที่ทับซ้อนกัน และยังแยกตัวออกจากกัน นอกจากนั้นยังมีปัจจัยด้านกฎระเบียบ แนวปฏิบัติจากหน่วยงานตรวจสอบภายนอกที่ยังคงทำให้เกิดความติดขัดในการเป็นสำนักงานดิจิทัล ในส่วนของปัจจัยอื่นๆ สำนักงาน กสทช. มุ่งมั่นและพร้อมสนับสนุนในทุกด้านเพื่อส่งเสริมการเป็นสำนักงานดิจิทัลเช่น ปัจจัยด้านการออกนโยบาย และปัจจัยส่งเสริมศักยภาพบุคลากรทางด้านดิจิทัล รวมไปถึงสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาระบบเทคโนโลยีเพื่อนำมารวมระบบการทำงานไว้เป็นหน้าต่างเดียวกัน ทั้งระบบดำเนินงานภายใน และระบบการให้บริการแก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม เพื่อการเป็นสำนักงานดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพยังคงต้องได้รับการสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นจากผู้นำระดับสูงและรัฐบาลของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมายหรือแนวปฏิบัติในด้านการเบิกจ่าย เพื่อให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติและทิศทางเดียวกันกับหน่วยงานตรวจสอบ รวมถึงด้านอื่นๆ ที่จะต้องครอบคลุมและส่งเสริมการเป็นหน่วยงานองค์กรดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ |
Other Abstract: | This research aims to study factors that affect the enhancement of efficiency improvement of the Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission or the Office of the NBTC as a digital organization and to improve its ranking from number 6 for the Digital Government Awards 2020 of Digital Government Development Agency. It also aims to study guidelines and suggestions in improving the development of the Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission into a digital organization. This qualitative paper collects data from in-depth interviews using semi-structured questions with various relevant stakeholders who use the services of the Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission and analyzes the data using content analysis together with descriptive data analysis methods. The results reveal that the factor impacting the efficiency improvement of the Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission as a Digital Organization is the information integration of officers due to the lack of communication between officers nowadays. For instance, a task that creates both a system for providing services to customer and a system for internal operation results in both overlapping systems and separate systems in the organization. In addition, rules and guidelines from external audit bodies are other factors that discourage the organization from becoming a digital organization. In terms of other factors, the Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission strives and is prepared to support the organization improvement as a digital organization, such as the factor of policy and the factor of upskilling personnel with digital competence. Moreover, the Office of the NBTC also supports the budget allocation for digital technology system projects in order to reduce the number of systems to a single window for both internal and customer service systems. Nevertheless, being an efficient digital organization requires more support from top-level management and the government of Thailand. This includes enacting laws and regulations on disbursement to ensure they align with audit agencies and also includes other types of support that are inclusive and encourage the organization into becoming more of a digital organization in order to promote the government of Thailand as a successful digital government. |
Description: | สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76430 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.396 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2020.396 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280031824.pdf | 3.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.