Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76468
Title: การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน 
Other Titles: People's participation approach in the management of environment: Phanatnikhom municipality, Chon Buri province
Authors: ศุภาพิชญ์ แซ่หยุน
Advisors: วิมลมาศ ศรีจำเริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: การจัดการสิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การพัฒนาเมืองแบบยั่งยืน -- ไทย -- ชลบุรี
Environmental management -- Citizen participation
Sustainable urban development -- Thailand -- Chon Buri
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งประกอบไปด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การขจัดของเสีย/มลพิษ และการควบคุมกิจกรรมการจัดการ เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในชุมชน ของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และ เพื่อศึกษากระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ในการศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชาชน และเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 321 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติโดยวิธีหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติ t-test สถิติ F-test โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ในแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน และการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยมุ่งเน้นสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการด้านสภาพแวดล้อม เพื่อปลูกจิตสำนึก เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นของตน ซึ่งผลจากการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนที่ประสบปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน เพื่อจะได้นำไปปรับใช้ให้ชุมชนของตนเองเป็นเมืองที่น่าอยู่อย่าง เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้เช่นกัน และนอกจากแนวทางในการบริหารจัดการที่ดีแล้วนั้น การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม การร่วมแรงร่วมใจกันของประชาชนในพื้นที่ ถือได้ว่าเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: The objectives of this research are to study the People’s Participation Approach in the management of environment in Phanatnikhom Municipality, Chon Buri Province, which includes sustainable use, waste/pollution elimination, and control of management activities. It also aims to study knowledge and understanding about environment in the community of people within the municipality, and to study the process of people’s participation affecting the management of the environment of Phanatnikhom Municipality. This study is a mixed methods research with quantitative and qualitative research models. The samples in this research are 321 people and environmental officers of Phanatnikhom Municipality, Chon Buri Province. Questionnaires are used to collect quantitative data. Data is analyzed using statistical values determining percentage, arithmetic means and standard deviation values. Research hypotheses are tested with statistical t-test, F-test statistic, multiple regression analysis. Qualitative data is collected from in-depth interviews and processed with a content analysis. The results show that the People’s Participation process and Environmental Management affects the management of the environment by Local Government Organization of Phanatnikhom Municipality, Chon Buri Province. By focusing on encouraging community members to participate in environmental management, it has become the people’s guideline to start considering about conservation, rehabilitation and helping to protect their local environment. The results of this study will be beneficial to all communities facing with environmental problems so that they can build a livable community like Phanatnikhom Municipality as well. In addition, good management guidelines are giving people the opportunity to participate and the cooperation of community members is the most important factor in effective problem solving.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76468
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.366
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.366
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280125124.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.