Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7661
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวินิจ วินิจวัจนะ-
dc.contributor.authorรุจิโรจน์ ใบมาก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2008-07-25T09:07:19Z-
dc.date.available2008-07-25T09:07:19Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741423802-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7661-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้การแพทย์ทางเลือกของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและทดสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ ผู้สูงอายุจำนวน 960 คน ซึ่งเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุรวม 24 ชมรมในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรต้น 11 ตัว คือ เจตคติภายในตนเองต่การใช้การแพทย์ทางเลือก เพศภาวะสุขภาพกาย รายได้ ภาวะสุขภาพจิต ระดับการศึกษา และเจตคติภายนอกตนต่อการใช้การแพทย์ทางเลือก สถานภาพสมรส อายุ การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา ตัวแปรตาม 1 ตัว คือ การใช้การแพทย์ทางเลือก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรต่างๆ แต่ละตัว ตั้งแต่ 0.54-0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมลิสเรล ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 ถึง มีนาคม 2549 เมื่อใช้โปรแกรมลิสเรล 8.54 วิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้การแพทย์ทางเลือกพบว่า รูปแบบที่สร้างขึ้นสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ กับการใช้การแพทย์ทางเลือกของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 67 โดยที่ตัวแปรเจตคติภายในตนเองของการใช้การแพทย์ทางเลือกมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการใช้การแพทย์ทางเลือกของผู้สูงอายุสูงสุดส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญต่อการใช้การแพทย์ทางเลือกผุ้สูงอายุมี 4 ตัวคือ เจตคติภายในตนเองต่อการใช้การแพทย์ทางเลือก รายได้ เพศ และภาวะสุขภาพกาย (สัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.78, 0.17,-0.06 และ 0.07 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปรต่างๆ ต่อการใช้แพทย์ทางเลือกของผู้สูงอายุ ส่วนการทดสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขั้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 39.1 (df=27; p=0.064) และดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.99 อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้การแพทย์ทางเลือกของผู้สูงอายุกลุ่มอื่นๆ และการนำรูปแบบความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นนี้ไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe elderly use of alternative medicine depends on many complex factors. There has been no study on a causal relationship of these factors. The objectives of this study were to develop a causal relationship model of the elderly use of alternative medicine in Bangkok, and test the goodness of fitting of the causal relationship model with empirical data. The research sample consisted of 960 elderly people who were the members of 24 elderly clubs around Bangkok. A total of 11 independent variables included internal elderly attitudes, physical health, income, gender, mental health, educational background, external elderly attitudes status, age, smoking, and drinking. One independent variable was the use of alternative medicine. Data were collected by questionnaires having reliability for each variable ranging from 0,54-0.93 and analysed by using descriptive statistics and LISREL analysis. The study was carried out from June 2005 to March 2006. When employing the computer program LISREL 8.54 to create a causal relationship model, we found that the devised model could explain the relationship of several factors and the elderly use of alternative medicine equal to 67%. The internal elderly attitudes toward alterative medicine use had significant, direct and indirect effects on the utilization of alternative medicine. Four variables that had significant, direct effects on the elderly use of alternative medicine are infernal elderly attitudes, income, gender and physical health (direct effect coefficients: 0.78, 0.17, -0.06 and 0.07, respectively). There were also some indirect influences from other factors on the alternative medicine use. For the test of the goodness of fitting of the causal relationship model, the developed model was fitted to the empirical data; the chi-square goodness of fit was 34.86 (df = 25; p = 0.054) and the goodness of fit index was 0.99. However, there should be further studies on the use of alternative medicine by other senior groups, and the implementation of the developed model in practice.en
dc.format.extent1534976 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen
dc.subjectผู้สูงอายุ -- โรคen
dc.subjectผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัยen
dc.subjectการแพทย์ทางเลือกen
dc.titleการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้การแพทย์ทางเลือกของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeDevelopment of a causal relationship model of the elderly use of alternative medicine in Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWinit.W@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rujiroj.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.