Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76695
Title: ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี React ที่มีต่อความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 
Other Titles: Effects of organizing mathematics learning activities using react strategies on mathematical connection ability of eighth grade students
Authors: จารุวรรณ ว่องไววิริยะ
Advisors: จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- โปรแกรมกิจกรรม
การเชื่อมโยง (คณิตศาสตร์)
Mathematics -- Study and teaching (Secondary) -- Activity programs
Connections (Mathematics)
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม 3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสะท้อนคิด และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT มีการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ในทางที่ดีขึ้น
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to compare mathematical connection ability of the students before and after learning by organizing mathematics learning activities using REACT strategies, 2) to compare mathematical connection ability of the student after learning by organizing mathematics learning activities using REACT strategies, comparing with the criterion at 60% of the full score, and 3) to study the development of mathematical connection ability of the students between during learning by organizing  mathematics learning activities using REACT strategies. The subjects were 34 eighth- grade students. The tool used in the experiment was the lesson plan focusing on organizing mathematics learning activities using REACT strategies. The data were collected by using pre-test and post-test of mathematical connection ability, reflection form, and structured interview. The data so obtained was analyzed using arithmetic mean, standard deviation, t-test, and by content analysis. The research shows that 1) the mathematical connection ability of the students after learning by organizing mathematics learning activities using REACT strategies were higher at a .05 level of significance, 2) the mathematical connection ability of the students after organizing learning by mathematics learning activities using REACT strategies were higher than the criterion of 60% of the full score at a .05 level of significance, and 3) the mathematical connection ability of the students learning by organizing  mathematics learning activities using REACT strategies have improved to the positive direction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาคณิตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76695
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.633
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.633
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183311627.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.