Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77002
Title: สภาวะที่เหมาะสมในการแสดงออกของโปรตีนออสที่โอพอนทินในต้นยาสูบ
Other Titles: Optimization of osteopontin protein expression in Nicotiana benthamiana
Authors: โสภณัฐ วิเชียรสรรค์
Advisors: วรัญญู พูลเจริญ
Other author: คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: เทคโนโลยีชีวภาพพืช
Plant biotechnology
วิศวกรรมเนื้อเยื่อ
Tissue engineering
Issue Date: 2561
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ออสทีโอพอนทินเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สามารถทำหน้าที่เป็นโมเลกุลให้สัญญาณ (Ssignaling molecules) ในเทคนิควิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue engineering) โดยมีบทบาทเกี่ยวกับการสร้างและ เกิดใหม่ของเนื้อเยื่อกระดูก จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าออสทีโอพอนทินที่ผลิตจากต้นยาสูบ Nicotiana benthamiana สามารถกระตุ้นยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ bone remodeling ได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการผลิตออสทีโอพอนทินโดยปรับปรุงชิ้นส่วนของยีนส์ให้เหลือเฉพาะส่วน ของ C-terminal และนำไปทดสอบกับเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ ผลปรากฎว่าออสทีโอพอนทินส่วน C-terminal สามารถกระตุ้นยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ bone remodeling ได้ดีกว่าออสทีโอ พอนทินส่วนอื่นๆ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตโปรตีนออสทีโอ พอนทินส่วน C-terminal ในต้นยาสูบ โดยใช้ Agrobacterium tumefaciens สายพันธุ์ GV3101 ที่ มีพลาสมิด p BYR2eK2Md-C-OPN-His มาศึกษาผลของความเข้มข้นของเชื้อที่ใช้ในการฉีดเข้าใบของ ต้นยาสูบ ซึ่งศึกษาที่ OD600 = 0.2, 0.4, 0.6 และ 0.8 โดยทำการศึกษาเป็นเวลา 6 วัน (1-6 dpi) หลังทำการฉีดเชื้อ นำใบไม้มาสกัดและวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนด้วยเทคนิค western blot จาก การศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตโปรตีนออสทีโอพอนทินส่วน C-terminal ในต้น ยาสูบคือใช้ความเข้มข้นของเชื้อที่ 0D600 - 0.4 โดยเก็บใบหลังจากฉีดเป็นเวลา 3 วัน (3 dpi)
Other Abstract: Osteopontin is a protein which plays an important role in the bone remodeling process, it can act as a signaling molecules in tissue engineering. The previous study showed that plant-produced osteopontin has been reported to stimulate osteogenic related genes. Furthermore, it has been shown that a C-terminal truncated OPN appeared more effective in stimulating the expression of osteogenic related genes than full-length OPN and N-terminal OPN. The aim of this study is to optimize the conditions of C-terminal fragment truncated osteopontin protein expression including concentration of Agrobacterium tumefaciens GV3101 strains containing pBYR2eK2Md-C-OPN-His, OD600 of 0.2, 0.4, 0.6 and 0.8 were used for agroinfiltration, and day post-infiltration (dpi). Infiltrated leaves were collected at 1-6 dpi, extracted and analyzed Western blotting. The results indicate that OD600 of 0.4 of agrobacterium at 3 days post-infiltration is the optimized condition for C-terminal fragment truncated OPN protein expression in N.benthamiana.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการค้นพบและพัฒนายา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77002
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_3.16_2561.pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม(3.16-2561)1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.