Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77538
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติมา วัฒนวิจิตรกุล-
dc.contributor.advisorดรุณี โชติประสิทธิ์สกุล-
dc.contributor.authorเอมอร ประดู่-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-08T08:23:13Z-
dc.date.available2021-10-08T08:23:13Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77538-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาสมการที่สามารถทำนายค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของแวนโคมัยซินที่มีความแม่นยำที่สุดในผู้ป่วยชาวไทยและ(2) นำสมการดังกล่าวมาสร้างโนโมแกรมแวนโคมัยซินที่มีเป้าหมายให้ได้ค่า AUC₂₄/MIC มากกว่าหรือเท่ากับ 400 และมีระดับยาต่ำสุดในเลือดที่ภาวะคงที่ในช่วง 10-20 มิลลิกรัมต่อลิตร การศึกษานี้ทำการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้าศึกษาในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 18 ปีที่มีค่าขจัดครีเอตินินตั้งแต่ 30 มิลลิลิตรต่อนาทีได้รับยาแวนโคมัยซินและได้รับการเจาะวัดระดับยาในเลือดที่สภาวะคงที่ 2 ครั้ง คือที่ระดับยาสูงสุดและระดับยาต่ำสุดเพื่อนนำมาคำนวณค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 51 ราย จำแนกผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ 1 สำหรับหาสมการค่าเภสัชจลนศาสตร์มีจำนวน 36 รายและกลุ่มที่ 2 สำหรับเปรียบเทียบความแม่นยำของสมการทำนายค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์มีจำนวน 15 ราย ผลการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 พบว่าค่าขจัดยาแวนโคมัยซินสัมพันธ์กับค่าขจัดครีเอตินินจากสมการ Cockcroft-Gault (r=0.60, P<0.01) สามารถสร้างสมการถดถอยอย่างง่ายคือ Ln[CLvanco(ml/min)] = 0.612*Ln[CLcr(ml/min)]+1.55 (R2=0.45, P<0.01) และมีค่าเฉลี่ยปริมาตรการกระจายยาเท่ากับ 0.84 ลิตรต่อกิโลกรัมเมื่อนำสมการดังกล่าวทำนายค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ในผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 เปรียบเทียบกับสมการค่าเภสัชจลนศาสตร์ 5 สมการที่ตีพิมพ์ก่อนหน้าได้แก่สมการของ Ducharme, Birt, Burton, Revised burton และ Ambrose พบว่าสมการที่พัฒนาจากการศึกษานี้โดยใช้ข้อมูลของผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 เป็นสมการที่มีความแม่นยำที่สุดโดยค่าขจัดยาแวนโคมัยซินมีค่า ME (95% Cl) เท่ากับ 0.02 (-0.39, 0.43) ลิตรต่อชั่วโมง (P=0.53) และมี RMSE เท่ากับ 0.72 ลิตรต่อชั่วโมงค่าปริมาตรการกระจายตัวมีค่า ME (95% Cl) เท่ากับ 3.87 (-4.31, 12.04) ลิตร (P=0.33) และมี RMSE เท่ากับ 14.77 ลิตร ผู้วิจัยจึงได้เสนอโนโมแกรมที่พัฒนาจากสมการดังกล่าวกำหนดขนาดยาแวนโคมัยซินจากน้ำหนักตัวและค่าขจัดครีเอตินิน อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้โนโมแกรมดังกล่าวต่อไปในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeA prospective study was performed to (1) determine the best pharmacokinetic equation for estimating vancomycin pharmacokinetics in Thai adult patients aged at least 18 years old with creatinine clearance (CLcr) greater than or equal to 30 ml/min and (2) develop vancomycin nomogram in achieving target of AUC24/MIC ≥ 400 and trough serum concentrations of 10-20 mg/L. Data from 51 patients, who were given intravenous vancomycin, were evaluated. Peak and trough concentrations at steady state were used for calculating pharmacokinetic parameters. In the model group (n=36), vancomycin clearance (CLvanco) was significantly correlated with CLcr calculated from Cockcroft-Gault equation (r=0.60, P<0.01) and the best regression equation was Ln[CLvanco(ml/min)] = 0.612*Ln[CLcr(ml/min)] + 1.55 (R2=0.45, P<0.01). The average Vd was 0.84 L/kg. These two equations were applied to predict pharmacokinetics in the validation group (n=15) compared with the previous published methods of Ducharme, Birt, Burton, Revised burton and Ambrose. Mean error (ME) and root mean square error (RMSE) were examined to reflect the performance of each method. The results revealed that the current study methods were less bias and more precise than the other methods. The estimated CLvanco from this analysis showed ME (95% Cl) 0.02 (-0.39, 0.43) L/hr (P=0.53) and RMSE 0.72 L/hr. Vd showed ME (95% Cl) 3.87 (-4.31, 12.04) L (P=0.33) and RMSE 14.77 L. These equations were used to develop a nomogram which based dosing on body weight and CLcr. However, further studies are required to validate this nomogram.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.2077-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเภสัชจลนศาสตร์en_US
dc.subjectแวนโคมัยซินen_US
dc.subjectPharmacokineticen_US
dc.subjectVancomycinen_US
dc.titleการพัฒนาโนโมแกรมของยาแวนโคมัยซินเพื่อให้ได้ค่า AUC24/MIC ≥400en_US
dc.title.alternativeDevelopment of vancomycin nomogram in achieving target of AUC24/MIC ≥400en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThitima.Wa@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.2077-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aimon_pr_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ888.45 kBAdobe PDFView/Open
Aimon_pr_ch1_p.pdfบทที่ 1726.36 kBAdobe PDFView/Open
Aimon_pr_ch2_p.pdfบทที่ 22.17 MBAdobe PDFView/Open
Aimon_pr_ch3_p.pdfบทที่ 3977.17 kBAdobe PDFView/Open
Aimon_pr_ch4_p.pdfบทที่ 41.29 MBAdobe PDFView/Open
Aimon_pr_ch5_p.pdfบทที่ 51.25 MBAdobe PDFView/Open
Aimon_pr_ch6_p.pdfบทที่ 6680.56 kBAdobe PDFView/Open
Aimon_pr_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.