Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78064
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพนม คลี่ฉายา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-02-15T03:46:10Z-
dc.date.available2022-02-15T03:46:10Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78064-
dc.descriptionสารบัญ : รูปแบบของเทคโนโลยีของการเรียนการสอน -- ความสำคัญของการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล -- การสร้างเนื้อหาสาระวิชารู้เท่าทันสื่อดิจิทัล -- การวิเคราะห์กลุ่มผู้ใช้ดิจิทัลหรือสังคมออนไลน์ -- ความสำคัญของกราฟิก ลูกเล่น เนื้อหาที่มีผลต่อแรงจูงใจการเรียนรู้สื่อดิจิทัล -- ปัจจัยและอุปสรรคของการเรียนและการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและอธิบายความต้องการเนื้อหา วิธีการสอน การจัดการเรียนการสอน และแรงจูงใจในการเรียนบทเรียนออนไลน์เรื่องการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยผสานวิธี (Mixed Methodology) ระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจเป็นหลักและใช้วิธีการวิจัยแบบสัมภาษณ์เจาะลึกเป็นวิธีรองเพื่อนำมาสร้างแบบสอบถาม เริ่มจากการสัมภาษณ์นักเรียน ครู และนักวิชาการด้านเทคโนโลยีการสอน ต่อด้วยการวิจัยเชิงสำรวจซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ตอนล่าง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 600 คน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความต้องการเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ ได้แก่ การเข้าถึง การใช้งาน และการอ่านสื่อดิจิทัล ความรู้พื้นฐานด้านการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล การใช้สื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัย การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล และการเรียนรู้เพื่อการใช้ชีวิตดิจิทัลในอนาคต โดยเนื้อหาบทเรียนควรเริ่มต้นจากง่ายไปยาก ตามระดับชั้นเรียนของนักเรียน เป็นเหตุการณ์ใกล้ตัวในชีวิตประจำวันของนักเรียนในแต่ละระดับ เน้นการเรียนรู้เพื่อการใช้ชีวิตดิจิทัล และการใช้สื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัย แนวทางการสอนที่สอดคล้องกับบทเรียน ได้แก่ การสอนเชิงวิพากษ์ (Critical Approach) และการสอนแบบการประกอบสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Approach) โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ นักเรียนมีความต้องการบทเรียนออนไลน์ที่ใช้กราฟิก ใช้สี ภาพ ตัวอักษร ประกอบเนื้อหาบทเรียน ใช้สื่อผสม เพลง ดนตรี เสียงประกอบ (Sound Effect) คลิปวิดีโอ แอนนิเมชัน เทคนิคการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และการสร้างตัวละครที่มีบุคลิกที่ใกล้ชิดเป็นวัยเดียวกัน การสร้างแรงจูงใจในการเรียน ได้แก่ จัดการเรียนตามความสนใจของนักเรียน ไม่กดดันด้วยเวลาที่จากัด เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนที่ง่าย มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ ทันสมัย ใกล้ตัว มีการมอบประกาศนียบัตร มีการให้คะแนน มีครูคอยกระตุ้นให้คำแนะนำ การทดสอบสมมติฐานการวิจัยสรุปได้ว่า นักเรียนเพศหญิงมีความต้องการเนื้อหาบทเรียนมากกว่านักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมัธยมปลายมีความต้องการเนื้อหาบทเรียนมากกว่านักเรียนมัธยมต้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนเพศหญิงมีความต้องการด้านการสอนแบบการประกอบสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Approach) ความต้องการใช้สื่อผสม คลิปวิดีโอ แอนนิเมชัน การสร้างตัวละครที่มีบุคลิกที่ใกล้ชิดเป็นวัยเดียวกัน การเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ตามอัธยาศัย และมีแรงจูงใจในการเรียน มากกว่านักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe research aims to explain secondary school students’ needs on contents, learning activities and learning motivation of online digital literacy lessons. The mix-method design is utilized by using exploratory research design as a primary approach and an in-depth interview method as a secondary approach to develop a questionnaire. The research procedure starts with in-depth interview among students, teachers, and technological teaching experts, then survey research is conducted. The questionnaire is designed to collect data from 600 samples which are secondary school students nationwide. The result indicates that the students’ needs on contents of online digital literacy lessons included accessing to digital media, media usages, media understanding, basic knowledge of digital media literacy, safe use of digital media, digital media creation and lifelong learning skills for the future of digital world. Moreover, they prefer to learn easy content in the beginning and more difficult content in higher years. The content should also be adapted to the situation that is familiar to their online daily life and focused on digital media safety. The appropriate teaching approaches for digital literacy online lessons are critical learning approach and constructive learning approach. Furthermore, students prefer to learn the online lessons that use various digital media technology, graphic, photo and font. In addition, they are also interested in multimedia lessons with music, visuals, sound effects, video clips, animations and interactive technologies. Besides, they suggest that it would be more related if the characters in the lesson were of the same age group as them. The motivations that drive students through the lessons are informal classroom, lesson plans that are based on their interests and no time pressure. Moreover, the contents should be easy, modern, related and beneficial for them to apply in daily usages. Presentation of the certificate after completion of lessons, rewarding scores for their subjects, and counseling from teachers can also increase their motivations as well. The hypothesis testing results can be concluded that female students express their needs on digital literacy content significantly more than male students. Furthermore, the high school students express their needs on digital literacy content significantly more than lower secondary school students. Regarding gender variable, female students express their needs on constructive learning approach, multimedia online lessons, informal education as well as having learning motivation more than male students at statistically significant level of .05.en_US
dc.description.sponsorshipสนับสนุนโดย เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะนิเทศศาสตร์ ปี 2561en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการรู้เท่าทันสื่อen_US
dc.subjectการรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ตen_US
dc.subjectการเรียนการสอนผ่านเว็บen_US
dc.titleความต้องการเนื้อหาแบบเรียนออนไลน์เพื่อการเรียนรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา : รายงานการวิจัยen_US
dc.title.alternativeThe need on contents for online digital literacy lessons of Thai secondary school students.en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Comm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Res_Phnom Kleechaya_2018.pdfรายงานวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)5.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.