Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78068
Title: การเตรียมขั้วไฟฟ้าที่มีแพลทินัมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็มโดยวิธีการพอกพูนด้วยไฟฟ้า
Other Titles: Preparation of platium catalyst electrode for PEM fuel cell by electrodeposition
Authors: นพวรรณ สายบัวทอง
Advisors: นิสิต ตัณฑวิเชฐ
เก็จวลี พฤกษาทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ขั้วไฟฟ้า
ตัวเร่งปฏิกิริยา
เซลล์เชื้อเพลิงชนิดเมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตอน
Electrodes
Catalysts
Proton exchange membrane fuel cells
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพอกพูนด้วยไฟฟ้าเป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาของขั้วไฟฟ้าสำหรับเอ็มอีเอของเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็ม งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพอกพูนของตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัม ด้วยไฟฟ้าบนผ้าคาร์บอนที่ผ่านการเตรียมพื้นผิวให้มีปริมาณสารของชั้นที่มีคุณสมบัติชอบน้ำ 0.8 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตร ด้วยรูปแบบของการให้กระแสไฟฟ้าในการพอกพูนแบบคงที่ ที่ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าในการพอกพูน (iDC) 5-40 มิลลิแอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร ความหนาแน่นประจุไฟฟ้า 2-6 คูลอมป์ต่อตารางเซนติเมตร และการให้กระแสไฟฟ้าแบบเป็นช่วงๆ ที่ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าสูงสุดในการพอกพูนแต่ละช่วง (ip) 20-200 มิลลิแอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร (Duty cycle ร้อยละ 5-50) ที่ความหนาแน่นประจุไฟฟ้า 2 คูลอมป์ต่อตารางเซนติเมตร ความถี่ 1-100 เฮริตซ์ พบว่าเอ็มอีเอที่เตรียมจากขั้วไฟฟ้าที่ผ่านการพอกพูนตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยการให้กระแสไฟฟ้าแบบเป็นช่วงๆ ให้สมรรถนะของเซลล์เชื้อเพลิงสูงกว่าเอ็มอีเอที่เตรียมจากขั้วไฟฟ้าทางการค้า (อัดเอ็มอีเอเอง) และการพอกพูนด้วยกระแสไฟฟ้าแบบคงที่ โดยสามารถให้ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 318 มิลลิแอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตรที่ค่าความต่างศักย์ 0.6 โวลต์ ในขณะที่ขั้วไฟฟ้าจากการเตรียมด้วยการให้กระแสไฟฟ้าแบบคงที่และขั้วไฟฟ้าทางการค้าจากบริษัท Electrochem, Inc. ให้ค่าเพียง 258 และ 215 มิลลิแอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ ที่ค่าความต่างศักย์เดียวกัน นอกจากนั้นเทคนิคการวิเคราะห์ด้วย SEM EDX TEM และ XRD ได้นำมาใช้เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้
Other Abstract: Electrodeposition technique has been reported to be able to produce uniform metal particle sizes and uniform metal distribution over the substrate. Moreover, it has various operating parameters to control the amount of deposited metal, desired metal particle sizes and desired metal structures. In this work, two electrodeposition techniques, direct current electrodeposition (DC) and pulse current electrodeposition (PC), were investigated and developed for the preparation of Pt-catalyst electrode using for membrane electrode assembly (MEA) of proton exchange membrane fuel cell (PEMFC). Platinum was electrodeposited onto a 0.8 mg/cm2 hydrophilic layer carbon cloth electrode. The performances of the Pt-catalyst electrodes prepared under various conditions were then compared to the commercial electrode (Electrochem, Inc.). The results show that the pulse current electrodeposited electrode (318 mA/cm2 at 0.6 V) provided higher current density than the direct current electrode (258 mA/cm2 at 0.6 V) and the commercial one (215 mA/cm2 at 0.6 V). The surface morphology of the prepared electrodes, particle size and a ratio of platinum on carbon surface are provided by scanning electron microscopy (SEM), or transmission electron microscopy (TEM), X-ray diffraction (XRD) and energy dispersive X-ray spectroscopy (EDX), respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78068
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4872323423_2550.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)3.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.