Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78172
Title: ประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมไอโอดีนในไข่สดด้วยเทคนิคการเร่งด้วยไฟฟ้า
Other Titles: Fortification Efficiency of Iodine in Egg Using Electrical Acceleration Technique
Authors: ชวกรณ์ สานุสันต์
Advisors: ปกรณ์ วรานุศุภากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ไข่
ไอโอดีน
Iodine
Eggs
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาประสิทธิภาพในการเสริมไอโอดีนด้วยเทคนิคการเร่งด้วยไฟฟ้าในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งอาศัยหลักการเคลื่อนย้ายไอออน โดยเลือกใช้ไข่สดที่หาซื้อได้จากท้องตลาดทั่วไป ทำการเสริมไอโอดีนในไข่ สดโดยใช้สารละลายโพแทสเซียม ไอโอเดต ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยเลือกทำการเสริมไอโอดีนใน ไข่สดที่ศักย์ไฟฟ้า 0, 7.2, 15.7, 24.4 และ 32.9 โวลต์ ณ เวลา 1, 5, 10 และ 15 นาที การตรวจวัดปริมาณ ไอโอดีนในไข่สดจะนำไปตรวจวัดด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบฉีดไหล โดยอาศัยปฏิกิริยาแซนเดลล์ – โคลธอฟฟ์ ซึ่งเตรียมตัวอย่างด้วยวิธีการตกตะกอนโปรตีนด้วยกรดไตรคลอโรแอซีติก โดยการเสริมไอโอดีนในไข่ สดด้วยเทคนิคการเร่งด้วยไฟฟ้านั้น ได้จำแนกกลุ่มในการเสริมไอโอดีนในไข่สดเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ไข่สดจะ ถูกแช่ในสารละลายไอโอดีน ซึ่งวางอยู่ระหว่างขั้วอิเล็กโทรดที่ต่อกับแหล่งกำเนิดศักย์ไฟฟ้าในการให้ความต่าง ศักย์ไฟฟ้า กลุ่มที่ 2 ไข่สดจะถูกวางอยู่กึ่งกลางกระบะระหว่างสารละลาย ซึ่งถูกกั้นออกจากกันระหว่าง สารละลายไอโอดีนกับสารละลายไอโอดีน หรือสารละลายไอโอดีนกับน้ำ ซึ่งขั้วอิเล็กโทรดจะอยู่ในสารละลายฝั่ง ละขั้วเพื่อให้มั่นใจว่าทิศทางการเคลื่อนที่ของสารละลายไอโอดีนจะผ่านเปลือกไข่เข้าสู่ไข่สดได้ และกลุ่มที่ 3 ไข่ สดจะวางอยู่กึ่งกลางกระบะระหว่างสารละลายไอโอดีน ซึ่งขั้วประจุลบอยู่ในสารละลายไอโอดีน ส่วนขั้วประจุ บวกจะติดกับไข่สดโดยตรงเพื่อให้มั่นใจว่าสารละลายไอโอดีนจะผ่านเข้าสู่ไข่สดได้ เมื่อทำการเสริมไอโอดีนในไข่ สดด้วยเทคนิคการเร่งด้วยไฟฟ้า ปริมาณไอโอดีนในไข่สดมีความแปรปรวนสูง แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปริมาณ ไอโอดีนในไข่สดไม่ชัดเจน เนื่องจากใช้ความเข้มข้นของสารละลายโพแทสเซียม ไอโอเดตต่ำ อาจส่งผลให้ไม่เห็น การเคลื่อนย้ายไอออนผ่านเปลือกไข่เข้าสู่ไข่สดได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ความแปรปรวนของปริมาณไอโอดีนใน ไข่สดเริ่มต้น จะส่งผลให้ปริมาณไอโอดีนในไข่สดหลังการเสริมไอโอดีนมีความแปรปรวนเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังสังเกตเห็นแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปริมาณไอโอดีนในไข่สดหลังการเสริมไอโอดีนด้วยกระบวนการที่ควบคุม ทิศทางการเคลื่อนย้ายไอออนได้
Other Abstract: This study evaluated the electrical accelerated iodine fortification efficiency in eggs using various setups. Eggs were randomly purchased from the local market. The eggs were electrically fortified into eggs using 500 mg/L potassium iodate solution. The electrical potentials and fortification time varied form 0, 7.2, 15.7, 24.4 and 32.9 volt at 1, 5, 10 and 15 minutes were investigated. The iodine contents in eggs were determined by flow injection analysis method based on Sandell – Kolthoff reaction after removal of egg matrices by protein precipitation method using trichloroacetic acid. The electrical accelerated iodine fortification setups could be categorized into three groups; one was that the egg was soaked in the iodine solution between electrical electrodes; one was that the egg was located on the sealed socket separated between iodine:iodine or iodine:water solutions where electrodes were placed in each solution to ensure the direction of iodine being transported through the egg; one was that the egg was located on the sealed socket having one side being exposed the iodine solution with negative electrode and the other side being attached to the positive electrode to ensure the transportation of iodine into the egg. The results showed that the iodine contents found from all setups were widely scattered. There was no significant improvement of iodine content being achieved after electrical fortification. The use of such a low concentration of potassium iodate might not provide effective ion transfer through the egg shell under studied conditions. Moreover, the variation of iodine contents that were originally present in the egg may attribute to the variation of the iodine content found after electrical fortification as well. However, a trend of iodine content improvement after electrical fortification might be observed for the setups with controlled iodine direction.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78172
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chawakorn Sa_Se_2559.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.